วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (1)


การอบรมหัวข้อ "การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ"

โดย ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)

ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2553
ณ ห้องประชุม สคร.8 ชั้น 4


หลังจากขึ้นปีใหม่ งานวันนี้เป็นงานวิชาการเเรกที่ถูกจัดขึ้น
ต้องกราบขอบพระคุณท่านผู้บริหารทุกระดับ
ที่กรุณาให้ความสำคัญเเละเปิดโอกาส
โดยอนุมัติโครงการเเละร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน
ทั้งที่ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นเพียงหมอตัวน้อยๆ
ที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องสักเท่าไหร่

จุดประสงค์หลักคือ
ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาในทุกระดับของ สคร.8

งานวันนี้จะเกิดไม่ได้หากไม่ได้รับความกรุณา
จากท่านวิทยากร คือ ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จาก สวรส

ต้องขอท้าวความสักนิดว่า
ผมเองเคยได้ยินเรื่อง R to R มานานพอควร
ตั้งเเต่สมัยที่ออกจากบ้านนอกไปร่ำเรียนในเมืองกรุง
พอกลับมาทำงาน คิดว่าวิธีนี้น่าจะมาใช้ได้กับ สคร.8
ลองขายไอเดียกับพี่ๆหลายคน
จนตกผลึกเลยทำโครงการออกมา

พอโครงการอนุมัติ
ซึ่งคาดว่าเป็นโครงการเเรกๆที่ออกมาในปีงบประมาณนี้
ก็ต้องหาคณะวิทยากรผู้จะมาให้ความรู้
เเละคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับ สคร.8

ครั้นจะให้หมอโรจน์ทำเองหมดเเบบ all in one
ก็ไม่มีความสามารถเพียงพอ
เเค่ทุกวันนี้คุยกับชาวบ้านรู้เรื่องก็เเทบเเย่เเล้ว
บางครั้งทำให้คิดได้ว่า
ด็อกเตอร์-ด็อกต๋อย-ด็อกเเด้ก เเยกกันไม่คอยออก

ผมเร่งสืบราชการลับไปที่เครือข่ายทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอาจารย์หมอมงคล
ได้เล่าประสบการณ์ของ สคร.2 ให้ฟัง
เเละได้เเนะนำให้ผมไปคุยกับพี่หมอปรีชาจาก สคร.2
สรุปว่า ท่านเเนะนำให้ผมติดต่ออาจารย์จรวยพร

พอได้ยินชื่อ ผมจำได้ว่า
ผมเคยได้ยินเเละได้อ่านชื่อนี้หลายรอบ
เพราะเคยเข้าอบรม
"การบริหารโครงการวิจัยระดับหัวหน้าโครงการ"
ที่จัดโดยคณะกรรมการวิจัยเเห่งชาติ
เป็นเวลาตั้ง 5 วัน เมื่อกลางปีที่ผ่านมา

งานนั้นทำให้ผมได้รู้จักกับด๊อกเตอร์เเละนักวิจัยมากมาย
จากทุกสาขาอาชีพเช่น เกษตร ชีววิทยา ปฐพี
วิศวะ สภาปัตย์ สังคม ศึกษาศาสตร์
พยาบาล จุลชีวิทยา เทคโนโลยีอาหาร
ทหารบก เป็นต้น
(ไม่อยากคุยว่าผมเป็นด็อก..รุ่นเล็ก อายุน้อยเป็นอันดับ 2
ท่านที่เด็กสุดเป็นด็อก...เตอร์จากกรมทางหลวง)
ระหว่างการอบรม ผมต้องเปิดหนังสือเเนะนำผู้เข้าอบรม
ทำให้เจอชื่อ ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ทุกครั้ง
เพราะท่านอยู่ในหน้าเเรกๆ
ทุกวันนี้ยังจำชื่อผู้ร่วมรุ่นได้เลย
เเละในหนังสือก็จะปรากฏ e-mail ของอาจารย์ด้วย

ผมจึงไม่รีรอที่จะส่งe-mail ไปเรียนปรึกษา
ส่งตอนเย็น ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นก็ได้รับคำตอบ
เเละสามารถช่วงชิงคิวมาได้โดยเร็ว หากไม่ได้คิวนี้
หมายความว่าผมต้องรอไปอีกประมาณ 2 เดือน
อาจารย์ได้กรุณาโทรมาพูดคุยทันที
เเละได้ตกลงกันว่าการอบรมควรจัดเป็น 4 phase
เริ่มจาก ....
  1. อบรมพื้นฐานเพื่อจุดประเด็นวิจัยก่อน

  2. ติวเรื่องระเบียบวิธี

  3. การวิเคราะห์ข้อมูล

  4. การเขียนรายงานเเละนำเสนอ

ผมติดต่อประสานงานกันอยู่หลายครั้ง
จนได้วันที่ลงตัว
อาจารย์ได้ส่งใบงาน
ให้ผู้ร่วมอบรมทำการบ้านล่วงหน้า
ซึ่งคนของ สคร.8 ก็ได้มีความกระตือรือร้น
กันพอสมควร เลยทีเดียว!!!

หลังได้วัน ผมได้เรียน ผอ.สคร.8
เพื่อให้ท่านมาเปิดการอบรม
ท่านยินดีเป็นอย่างยิ่งเเละได้ลงเวลาในสมุดนัด
ต่อหน้าผมเเละหมอท็อป
เเละบอกว่า "พี่ไปเเน่ๆ"

ก่อนจัดงาน ทุกอย่างดูรีบเร่งไปหมด
หนังสือเชิญถึงมืออาจารย์
ตอน บ่าย 2 ของวันก่อนอบรมเพียง 1วัน
ต้องเตรียมเอกสารการประชุม
เเถมห้องประชุมชั้น 4 ของ สคร.8
ซึ่งเกือบทั้งปีทั้งชาติ ว่างๆๆๆมาโดยตลอด
ดันมาชนกับการจัดประกวด อสม ดีเด่น
ที่หน่วยงานภายนอกจองขอใช้ห้องมาก่อน

งานนี้ร้อนมาถึงหมอโรจน์ เดอะร์สตาร์
(ต้องเเอบเดอะร์สตอร์บ้าง หากจำเป็นจริงๆ)
ต่อโทรศัพท์ต่อรอง จนสามารถสลับห้องได้

เป็นงานที่ไม่คิดว่าจะต้องมาทำ เเต่ก็สนุกดี
ไม่รู้ว่าทำให้เสียพันธมิตรหรือเปล่าไม่รู้???

หนึ่งวันก่อนจัด ก็ได้รับรายงานว่า
จะมีคนจากส่วนกลางมาใช้ห้องอีกห้อง
งานเข้า!!! ครั้นจะจองโรงเเรมก็ไม่ทัน
เเละอาจทำให้ไม่มีคนเข้าฟังเลยก็เป็นได้
สุดวิสัยจริงๆ ก็คงจะต้องเลือกทางเลือกสุดท้าย
คือ ปูเสื่อ หน้า สคร.8
งานนี้ต้องขอบพระคุณพี่รังสรรค์หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ที่ได้กรุณาเคลียร์ทางให้
จนเเก้ปัญหามาได้
มิฉะนั้น หมอโรจน์โดนยำเละเเน่ๆๆ


อีกท่านที่ต้องใช้คำว่า"กราบขอบพระคุณ"
คือคุณธัชภร อัครนันทกุล
หรือ คุณเอ จากกลุ่ม สว.
ที่เป็นผู้จัดการงานทั้งหมด
ทั้งที่ตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 อยู่ด้วย
ต้องชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

การเชื้อเชิญเจ้าหน้าที่ของ สคร.8
ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
ผมต้องใช้ยุทธวิธีหลายอย่าง
ไม่ว่าจะส่งเมล์จิกเป็นรายบุคคล
ปล่อยข่าวรายวัน ปิดประกาศ
ขุ่บังคับ ให้สิ่งจูงใจ etc.
ทำให้รู้ว่า มันไม่ใช้เรื่องง่ายๆ
เเต่ก็ท้าทายดี !!!


มีอีกหลายเรื่องที่รู้สึกว่ายังทำได้ไม่ดี
(รู้เเต่พูดไม่ได้!!!)
เอาไว้เเก้มือโอกาสหน้า
นี่เเค่เกริ่นเรื่องนะครับ ยังไม่เข้าเนื้อหาเลย

วันจริง ผมรีบมาที่สำนักงานเพื่อเตรียมเอกสาร
โดยเฉพาะ สิ่งที่ผมจะขอความกรุณา
ให้ ผอ.สคร.8 ย้ำในตอนเปิดการอบรม
ระหว่างเดินขึ้นตึกได้พบกับคุณกอล์ฟ กลุ่ม สว
(หากอยากรู้วีรกรรมของท่านนี้ ให้กลับไปดูหัวข้อ"งานปีใหม่" ฮิๆๆ)
ผมทราบว่าเขาจะเป็นตัวเเทนไปรับอาจารย์จาก กทม ตั้งเเต่เช้ามืด
เขาบอกด้วยน้ำเสียงหนักเเน่ว่า.....
ผมพาอาจารย์มาถึงตั้งเเต่ สองโมงครึ่งเเล้วครับ!!!

อ้าวไม่มีใครบอกผม จะได้รีบไปตอนรับ
เพราะเกรงว่าจะเสียมารยาท
เเต่ระหว่างทาง ผมต้องนำเอกสารที่จะกล่าวเปิดให้ ผอ
ท่านได้สอบถามผมเล็กน้อย
เเละเดินไปห้องประชุมพร้อมกับผม

ผอ เเละผมได้ทำความรู้จักกับอาจารย์จรวยพร
เเละก็เริ่มเปิดการอบรม
โดยหมอโรจน์เป็นผู้กล่าวรายงาน


ท่าน ผอ.สคร.8 ได้กรุณากล่าวเปิด
เเละให้เเนวดำเนินงานเกี่ยวกับ R2R
เเถมท่านเเอบเปิดเผยความลับที่ว่า
ผมเป็นคนร่างประเด็นที่ขอให้ท่านช่วยกล่าวย้ำ
เพื่ออาศัยอำนาจบารมีของท่าน
ด้วยเอกสารที่ใช้ฟอนด์ Angsana ขนาด 24
ซึ่งผู้อ่านสามารถมองเห็นได้ประมาณ 2 ระยะเสาไฟฟ้า
เอกสารนั้นผมพิมพ์ว่า.......

" สิ่งที่ขอความกรุณาให้ ผอ.สคร.8 กล่าวย้ำในพิธีเปิด คือ

1.หลังผ่านการอบรมแล้ว หวังว่าอย่างน้อยทุกท่าน
จะจุดประกายความคิดที่จะพัฒนางานที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ดีขึ้น(มาบ้าง)

2.การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีการมอบหมายให้
ตัวแทนแต่ละกลุ่ม/ฝ่ายดำเนินโครงการ
อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมี นพ.ไพโรจน์
เป็นพี่เลี้ยงค่อยกำกับติดตาม อย่างเป็นกัลยาณมิตร
และจะรายงานความก้าวหน้าให้ ผอ.สคร.8 เป็นระยะ

3.หวังว่าในปีต่อไป จะมีผลงานออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆ

4.สคร.8 จะผลักดันให้ได้นำเสนอผลงานในเวทีวิชาการ "

เเต่ละคำที่ท่านกล่าวได้รับคำชมจากอาจารย์จรวยพรว่า
เป็นการสะท้อนถึงความเป็นผู้ที่เข้าใจ R2R อย่างเเท้จริง
ยิ่งทำให้การอบรมเเละการพัฒนาจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น



ภาพที่ ผอ.สคร.8 กล่าวเปิดการอบรม


อาจารย์ ดร.จรวยพร ได้เริ่มให้ความรู้


ผมขออนุญาตสรุปโดยการก็อปปี้จาก

power point ของอาจารย์มาดังนี้

Routine to Research (R2R) หมายถึง


  • การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดการสร้างความรู้เพื่อนำมาพัฒนางานประจำ ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่ทำงานประจำมีโอกาสคิด ทดลอง และตั้งโจทย์ให้มีความชัดเจนขึ้น แล้วทำการทดลอง เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล

  • ใช้งานวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถของคนทำงาน ผลิตผลงานเชิงวิจัยออกมาได้ แล้วป้อนกลับไปพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น”

ทำไม ต้องทำ R2R

  • มี ปัญหา ที่ต้องการแก้ไข

  • มี เรื่อง ที่ต้อง ทำ ให้ดีขึ้น

  • ต้องการ คำตอบ ที่แม่นยำ เชื่อถือได้

  • ตอบด้วย สามัญสำนึก ไม่ได้

  • ต้องการ พัฒนางานและพัฒนาตนเอง
ลักษณะงาน R2R: 4 ส่วนสำคัญ

  1. คำถามวิจัย
    ต้องมาจากงานประจำ
    ต้องแก้ปัญหางานประจำ
    ต้องการพัฒนาคุณภาพงานประจำ

  2. ผู้จัดทำ
    เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำที่เจอปัญหานั้น
    อาจต้องทำงานวิจัยร่วมกับผู้มีประสบการณ์ที่เคยทำมาก่อน

  3. ผล
    วัดได้โดยตรงที่สุขภาพของผู้ป่วย หรือระดับคุณภาพการบริการ
    หรืออาจเป็นผลลัพธ์ด้านอื่น เช่น การบริหารจัดการดีขึ้น

  4. การนำไปใช้ประโยชน์
    นำกลับไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วย หรือการบริการของหน่วยงาน

ท่านได้สอนอะไรต่างๆมากมายเกี่ยวกับ R2R
ได้เเก่......
  • ความหมาย R2R

  • ความต่างกับวิจัยอื่นๆ

  • หลักการทำ

  • ทำไม ต้องทำ R2R

  • ลักษณะงาน R2R

  • ประเด็นการทำ R2R

  • รูปแบบการทำ R2R

  • รูปแบบการวิจัย

  • KM และ R2R

  • รูปแบบการเขียนโครงร่างงานวิจัยจากงานประจำ
    (ที่มาปัญหาและวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง
    วิธีการศึกษา สถานที่ ช่วงเวลา การวิเคราะห์ข้อมูล
    แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน)

อาจารย์ได้มาทำให้พวกเราเห็นว่า R2R ไม่ใช่เรื่องยาก

สามารถทำได้ ทำให้เกิดการพัฒนาทุกระดับเเละเป็นประโยชน์เห็นๆ

ผมคงไม่สามารถเล่าสิ่งที่อาจารย์สอนได้ทั้งหมด

เปรียบเหมือนกับผมกำลังบรรยายภาพสวยๆ อยู่ภาพหนึ่ง

ต้องเล่าทุกมุมมอง เพื่อประกอบในเหมือนเห็นภาพ

มันคงจะดีกว่าถ้าคนที่จะมาฟังผมเล่า

ได้เห็นภาพนั้นด้วยตัวเขาเอง

เเต่จะดีมากหากได้ทดลองมือวิจัย R2R เอง

ประเด็นที่ท้าท้ายในบริบทของ สคร.8

  • กรอบการทำงานของ สคร.8 / งาน routine ของ สคร.8 คืออะไร

  • ต้องการผลอะไรเเละนำไปใช้ทำอะไร

  • มิติไหนที่เราสมควรพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ

  • ใครจะมาทำบ้าง

  • etc

มันออกจะเป็นปรัชญานิดๆ

ผมว่าคนของ สคร.8 เข้าใจอะไรง่ายอยู่เเล้ว

ความท้าทายที่ผมทิ้งไว้ หาคำตอบได้ไม่ยาก จริงไหม??


รูปของหมอโรจน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ

ภาพมุมหนึ่งของผู้เข้าอบรม
อุตส่าห์ถ่ายไกลๆเเล้ว เเต่ก็ยังเห็นหัวล้านของผมจนได้

ถ่ายรูปหมู่ตอนจบการอบรม

เเต่กว่าจะมาถึงภาพนี้ได้ ให้ตามไปดูหัวข้อนี้ในภาค 2-3-4-5-6

ผมจะเล่าให้ฟังเป็นช็อตๆ




ติตตามภาคต่อไปครับ

1 ความคิดเห็น:

  1. เรียน..คุณหมอไพโรจน์ ดิฉันเป็นพยาบาลเวชปฎิบัติคะ กำลังจะไปอบรมR2Rวันมะรึนนี้ เนื่องจากยังไม่เคยมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ รู้แต่ว่า เป็นการทำวิจัยในงานประจำ ก็เลยเข้ามา serch ดู อ่านของคุณหมอแล้รู้สึกน่าสนใจ และอยากจะลองทำวิจัยในงานคลินิกความดันโลหิตสูงดูบ้างคะ คนไข้เยอะมากเลยคะ
    ขอบคุณมากนะคะ ที่ช่วยจุดประกาย การพัฒนางาน

    ตอบลบ