วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

นิยามของ "คนขี้บ่น"

วันนี้ผมเกิดปาฏิหารย์อีกเเล้วครับ
เพราะขณะที่ไปรื้อตู้หนังสือเพื่อหาตำราเพื่อมาเตรียมเขียนโครงการ
ไปเจอหนังสือที่เคยอ่านเมื่อ 2 ปี ที่เเล้ว หล่นลงมา
หนังสือชื่อภาษาไทยว่า "ถามให้ถูก พูดให้เป็น"
เเปลมาจาก 'Water the Flowers Not the Weeds'
(ให้รดน้ำต้นไม่ ไม่ใช้รดวัชพืช)
ผู้เเต่ง Fletcher Peacock
ผู้เเปล เริง เจริญ
เป็นหนังสือเกี่ยวกับการสื่อสารเเละด้านความสัมพันธ์

เเละลองเปิดดูว่า เราอ่านหรือยัง เปิดไปเจอหัวข้อนี้ "คนขี้บ่น"
เลยเเว็บขึ้นมาในความคิดว่า
เอามาเล่าดีกว่า เพื่อเกิดประโยชน์

เพราะผมรำคาญเหลือเกิน ทั้งทีจริงๆ ผมเองก็เป็นคนขี้บ่นกับเขาด้วยเหมือนกัน
ลองดูนะ.....
เขานิยาม ของ ผู้บ่นว่า......

ผู้บ่นคือ คนที่รู้ตนเองมีปัญหหา เเต่ ยังไม่รู้สึกอยากลงมือทำอะไร กับปัญหา !!!!

ความจริงในปัจจุบันของ"ผู้บ่น" คือ
เขาเป็นเหยื่อผู้ถูกกระทำที่น่าสงสาร
ซึ่งเขาไม่สามารถช่วยตัวเองได้เลย
เขาจะพูดกับตนเองว่า
"ตัวเราไม่มีอะไรเลย เราไม่มีความสามารถ เราทำอะไรไม่ได้เลย"


ผมขอเสนอเท่านี้ก่อน เพราะหากลอกมาหมด
มันจะดูน่าเกลียด
ให้ไปหาซื้ออ่านเอาเองดีกว่า

หนังสือเขาดีจริงๆ

สำหรับผม ซึ่งตอนนี้ก็บรรลุวัตถุประสงค์เเล้วครับที่ได้กล่าวถึงนิยามของคนขี้บ่น

จากนี้ก็สุดเเล้วเเต่ที่ทุกท่านจะตีความว่า

อะไรคืออะไร

ผมไม่เขียนต่อเเล้ว
เพราะกลัวว่าจะถูกครหาว่าเป็น "คนขี้บ่น" กับเขาเหมือนกัน

หมอโรจน์

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

อย่าส่งเป็ดของคุณ ไปเข้าโรงเรียนนกอินทรี

วันนี้ผมไปเจอบทความหนึ่งที่น่าสนใจเรียบเรียงจาก
งานสัมมนา John C. Maxwell, Live in Person,
Building the Leadership Team for Outstanding Results
จัดโดย ITD Group กลางเดือนมิถุนายน 2551
ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค


ลองอ่านดูคงจะเข้าใจว่าหมายถึงอะไร........

อย่าส่งเป็ดของคุณ ไปเข้าโรงเรียนนกอินทรี


นี่ไม่ใช่คำขู่ แต่เป็นคำเตือนอย่างหวังดี
ของกูรูทางด้านการสร้างภาวะผู้นำอันดับ 1 ของโลก

“จอห์น ซี. แม็กซ์เวลล์”

: เป็ดไม่สามารถไล่ตามงานของนกอินทรีได้ ยิ่งนานวันไปเป็ดก็จะยิ่งกระอักกระอ่วนใจ
ในกระบวนการทำงาน

: สัตว์ปีกทั้งสองชนิดนี้ มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องยังไงกับภาวะผู้นำ?

“คุณจะทำอะไรคนเดียวเพื่อตามล่าหาฝัน มันไม่มีวันสำเร็จได้
เพราะไม่ได้สร้างทีมขึ้นมารองรับ ฝันร้ายที่สุดของการเป็นผู้นำคือ
คุณมีฝันที่ยิ่งใหญ่ แต่ไม่มีทีมงานที่ดี”
และการจะไปให้ถึงที่สุดของฝั่งฝันได้ ต้องขึ้นกับความสามารถของคนในทีม
อันเป็นที่มาของการบรรยายสดในหัวข้อ Building the Leadership Team for Outstanding Results เมื่อกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา (2551)

“เป็ดก็เป็นเป็ด นกอินทรีก็เป็นนกอินทรี ทุกคนเป็นตัวของตัวเอง”
สิ่งที่เขาพยายามกระซิบดังๆ ก็คือ เพราะฉะนั้นจงวางคนให้ถูกที่
กับภารกิจที่เขาต้องทำ

เรื่องราวของนกอินทรีกับเป็ด
ในรั้วโรงเรียนสอนธุรกิจการจัดการ
เป็นสัญลักษณ์การบริหารคนของผู้นำ
ที่คิดเป็น ทำเป็น รู้จักมองไปข้างหน้า และเริ่มต้นวางแผน

แม็กซ์เวลล์เปิดใจว่า ตลอดชีวิตของเขาเคยลงทุนกับเป็ดมาแล้วนับไม่ถ้วน
พยายามหัดเป็ดให้บินสูง พอมันบินสูงไม่ได้ ก็ร้อง “แควก แควก” ออกมา
ไม่ต่างจากคนที่เป็นเป็ด แล้วต้องไปแบกรับหน้าที่ของนกอินทรี
พอทำไม่ได้ ก็เริ่มตั้งต้นบ่นพรำ

เขาเริ่มต้นเล่าเรื่องราวของเป็ดที่ทำเอาหลายคนอมยิ้ม...
มีขนมโดนัทยี่ห้อหนึ่งชื่อว่า คริสปี้แอนด์ครีม
เป็นขนมหวานมันหอมใหม่สดจากเตาร้อนที่ต้องเปิดไฟทำงานสีแดงเอาไว้
ถ้าลูกค้าเห็นสีแดงจะกรูกันเข้ามาซื้อ
เพราะนั่นหมายถึงสัญญาณจากพระเจ้าว่า
กำลังจะได้ลิ้มรสขนมอร่อยในไม่ช้านี้แล้ว

แต่ถ้าไม่เห็นสัญญาณไฟสีแดง
ลูกค้าส่วนใหญ่จะเดินผ่านไปโดยไม่สนใจ

ครั้งหนึ่งเขาได้ลิ้มชิมรสขนมมีรูจากหน้าเตานี้
โดยไม่มีสัญญาณสีแดง
แต่มันก็ยังอร่อยและบ่งบอกถึงรสชาติที่เพิ่งออกจากเตา
ก็เลยถามพนักงานขาย
คำตอบที่ได้ทำให้หัวใจเขาแทบหยุดเต้น
“ถ้าเปิดไฟสีแดงไว้ ลูกค้าจะแห่เข้ามาแล้วต้องขายดีเทน้ำเทท่า
ยิ่งขายดีมากก็ยิ่งเหนื่อย
สู้รีบทำรีบปิดไฟเสียดีกว่า
ลูกค้าจะได้ไม่แน่นร้าน
จนต้องทำงานเหนื่อยสายตัวแทบขาด”

เขาร่ำร้องอยู่ในใจ
“เธอคือเป็ดนั่นเอง ตัวที่ร้องแควก แควก
ตอนที่ต้องบินสูง เธอเป็นเป็ดมาขายโดนัท”

โอ้! พระเจ้า ผู้จัดการร้านจ้างเป็ดมาทำงานของนกอินทรี
ไม่ต่างอะไรกับการส่งเป็ดไปเข้าโรงเรียนผู้นำนกอินทรี

เหตุผลที่ไม่ควรส่งเป็ดไปเรียนร่วมห้องกับนกอินทรี
เขาบอกว่า ทำให้เกิดข้อคับข้องใจ
เพราะเป็ดไม่สามารถไล่ตามงานของนกอินทรีได้
ยิ่งนานวันไปเป็ดก็จะยิ่งกระอักกระอ่วนใจ
ในกระบวนการทำงาน
แม้แต่นกอินทรีเองก็อาจทำให้มีปัญหาในการบิน
เพราะแทนที่จะหัดบินจากบนลงล่างหรือล่างขึ้นบน
กลับไพร่จะหัดปีนขึ้นภูเขา ส่วนเจ้าเป็ดก็ถูกหัดให้วิ่งบนน้ำ
แทนที่จะได้ดำผุดดำว่าย
“เป็นการออกจากจุดแข็ง แล้วไปใช้จุดอ่อน ทำให้อึดอัดคับข้องใจ”
หลายครั้งเป็ดไม่รู้ตัวว่ากำลังทำอะไรเกินความสามารถ
แต่อินทรีจะรู้อยู่แก่ใจเสมอว่ามีเป็ดอยู่ในฝูง
ไม่ต่างอะไรกับกาในฝูงหงส์
ในสภาพแวดล้อมของผู้นำ
มีทั้งคนเก่งและคนไม่เก่งอยู่รอบตัว
หน้าที่ของคนที่มีภาวะผู้นำต้องรู้จักบริหารจัดการ
ต้องรู้ว่าแต่ละคนเป็นอย่างไร เวลาพัฒนาคนต้องมีภาพอยู่ในใจว่า
จะพัฒนาแต่ละคนไปอย่างไร
แต่ละคนมีความสามารถเป็นทุนเดิมแค่ไหน
อย่าต้องพลาดโอกาสหากเราไม่รู้ว่า
ศักยภาพของคนมีแค่ไหน
เพราะบางเรื่องอาจมองเห็นช่องโหว่
เล็ดลอดออกมาจากขนมคริสปี้แอนด์ครีมโดนัท
“ผู้นำต้องสามารถประเมินและพัฒนาผู้คน
มีความสามารถในการพัฒนาตัวเอง พร้อมกับพัฒนาผู้อื่น”
สรุปได้ว่า ทุกคนต้องได้รับการพัฒนา
ให้มีความสามารถที่เหมาะสม
ทำให้เป็ดเป็น the best และอินทรีก็เป็น the best ด้วยเช่นกัน
ฝึกปรือทั้งคู่โดยไม่พยายามฝึกเป็ดให้เป็นนกอินทรี

แต่ถ้าเป็นเรื่องของฮิลลารี คลินตัน กับ บารัก โอบามา
บทวิเคราะห์บันได 5 ขั้นของภาวะผู้นำอาจเปลี่ยนไป
เพราะนี่เป็นเรื่องของนกอินทรี 2 ตัว
กับเป้าหมายต้องการไปให้ถึง
จุดสูงสุดของภูเขาลูกที่ชื่อว่า United States of America

แม็กซ์เวลล์ชี้ว่า
ในสายตาคนทั่วไปมองว่าฮิลลารีเป็นนกอินทรีปีกแข็งแรง
ที่จะไปถึงยอดเขาได้ก่อ น
ในภาพรวมทั้งสองคนเป็นผู้นำฝีมือดี
ไม่เกี่ยวกับว่าใครเก่งกว่าหรือดีกว่าอีกคน แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ
ระดับของภาวะผู้นำที่จะเป็นพลังขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ
เขาเรียกระดับดีกรีนั้นว่า
แรงหนุนที่เป็นพลังแห่งความสำเร็จ
ฮิลลารีมั่นอกมั่นใจมากว่าเธอจะได้เป็นประธานาธิบดีคนต่อไปของสหรัฐอเมริกา
เธอมีแรงหนุนที่จะนำพาไปได้
แต่เธอทำหายไป เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้นำเชื่อมั่นว่า
ตัวเองดีที่สุดแล้ว
อันตรายก็จะมาถึงตัว เพราะขาดการฝึกปรือเพื่อไปยืนอยู่ในสถานภาพที่ดีกว่า

ขณะที่โอบามาทำตัวเหมือนเป็นคนของประชาชน
คล้ายกับจอห์น เอฟ เคเนดี้ คุณลักษณะเด่นในความเป็นภาวะผู้นำของเขาคือ
การสร้างความเชื่อมโยงระหว่างความเป็นผู้นำกับผู้คน
เขาต่อติดกับคนหนุ่มสาว แล้วปลดปล่อยผู้คนให้เกิดความหวัง
“โอบามาสร้างจินตนาการสูงให้กับผู้คน มีความเป็นภาวะผู้นำสูง
หน้าที่ผู้นำต้องบริหารจัดการกับความหวัง แล้วนำความหวังนั้นมาสู่ความเป็นจริง”
คนที่เป็นผู้นำไม่จำเป็นต้องทำดีเกินไป
หรือเวลาไม่ดีขึ้นมาก็อย่าคิดว่าตัวเองต้องแย่แน่แล้ว
ผู้นำทุกคนมีข้อดีข้อเสียมากบ้าง น้อยบ้าง
คุณจะได้เครดิตมากเวลาทำได้ดี
แต่ก็ต้องยืดอกพร้อมรับคำวิจารณ์เวลาพลาดพลั้ง
เพราะมันเป็นเรื่องของวิสัยทัศน์ ยังไกลตัว
แต่ก็ต้องทำให้จริงได้ในสักวัน

“อย่าส่งเป็ดของคุณ ไปเข้าโรงเรียนนกอินทรี”
นี่ไม่ใช่คำขู่
แต่เป็นคำเตือนอย่างหวังดีของจอห์น ซี. แม็กซ์เวลล์
แต่ถ้าเป็นโรงเรียนสอนซูเปอร์นกอินทรี
โดยเฉพาะกับอินทรีปีกแข็งอย่างฮิลลารีและโอบามาด้วยแล้ว
ดูเหมือนว่าเก้าอี้เกียรตินิยมอันดับ 1 จะเหลือว่างอยู่เพียงที่นั่งเดียว


ปล: ผมไม่ขอเป็นนกอินทรีหรือเป็นเป็ดดีกว่าครับครับ
ขอเป็นลูกไก่ตัวน้อยๆ น่ารักๆ สบายๆ ดีกว่าออก!!!

วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2553

ตรวจประเมิน IC ที่คลินิกมาลาเรีย

วันที่ 20 มกราคม 2553
วันนี้หมอโรจน์พาทีม IC ไปตรวจประเมิน
ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลง ที่ 8.2 จ.นว
เนื่องจากมติที่ประชุมกรรมการควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อ
ต้องการให้มีการตรวจประเมิน
เพื่อพัฒนาคลินิกมาลาเรียให้ได้มาตรฐาน
นี่เป็นการเดินทางมาเยี่ยมที่นี้เป็นครั้งเเรกของหมอโรจน์เเละทีมบางคน
เริ่มด้วยภาพเเรก......
ภาพเเรกขณะรวมพล
นี้เป็นครั้งเเรกที่หมอโรจน์มาที่ สตม.8.2
กรรมการที่รวมการประเมินประกอบด้วย

1.ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม
2.นพ.พิสุทธิ์ ชื่นจงกลกุล
3.นางอรทัย บุญมาสุข
4.นางราตรี ทิตตเมธา
5.นางศุภาพัทธ์ มาดารัตน์
6.นางภัคนิษกานต์ ประดิษฐ์สุวรรณ
7.นางธิดา นิ่มมา

พี่ใหญ่หัวหน้ากลุ่มโรคติดต่อนำโดยเเมลงมาตอนรับด้วย
จังหวะเเรก ดูจุดต้อนรับผู้ป่วยก่อน
เก้าอี้ตัวนี้คลาสิกมากๆๆ
เจ้าหน้าที่บอกว่าอายุอาจมากกว่าหมอโรจน์ก็ได้
ผู้รับผิดชอบกำลังอธิบายให้ทีม IC ฟัง
ส่วนผมอยู่มุมล่างซ้าย คอยเก็บข้อมูล
จดหมดทุกเม็ด
เพื่อนำเสนอข้อคิดเห็นเพื่อการปรับปรุง
ดูเครียดเชียว!!!
หมอท็อปมาด้วย
ภาพนี้ถ่ายขณะกำลังช่วยกันซักถาม
บรรยากาศสนุกสนามมาก
ตรวจไปหัวเราะไป
ก่อนกลับ ขอชักภาพซักบาน
เพื่อเป็นที่ระลึกว่าทุกอย่างโอเคเเฮบปี้

คณะกรรมการได้ตรวจประเมินแล้ว
มีความเห็นเสนอเพื่อการปรับปรุงบางอย่างเช่น
ควรจัดให้มีถังขยะเพิ่มเติม
เรื่องการใช้น้ำยาทำความสะอาดให้ถูกต้อง
หรือเพิ่มจำนวนอ่างล้างมือ เป็นต้น
การตรวจประเมินวันนี้เป็นมิติใหม่ของ สคร.8
ที่จะพยายามจะผลักดันให้มีการพัฒนาในทุกระดับ
คณะผู้ประเมินประทับใจมาก
ที่เห็นสัญญานของความมุ่งมันอย่างชัดเจน
จากเจ้าหน้าที่ทุกท่านที่ปฏิบัติใน สตม.8.2
ที่จะร่วมมือพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้นๆ
หมอโรจน์คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า
สตม.8.2 จ.นว จะได้รับการสนับสนุนทรัพยากรต่างๆ
เพื่อปรับปรุงเเก้ไขให้ได้มาตรฐาน
ไม่น้อยไปกว่าส่วนอื่นๆ ของ สคร.8
ทุกท่านค่อยติดตามดูต่อไปก็เเล้วกัน!!!
บางอย่างก็ไม่อยากคาดเดาอะไรมาก
เเต่ขอยืนยันว่าหมอโรจน์เเละทีม IC จะเป็นกำลังใจ
เเละคอยยืนเคียงข้างชาว สตม.8.2 จ.นว เสมอ

วันอังคารที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2553

พัฒนาเครือข่ายงานวัณโรค

การอบรมเชิงปฏิบัตการ
โครงการพัฒนาเครือข่ายป้องกันควบคุมวัณโรค
สำหรับ TB Clinic &DTC
วันที่ 18-19 มกราคม 2553

วันนี้เป็นงานบรรยายครั้งเเรกของปี 53

ผมได้รับคำเชิญกระทันหันให้ไปสอนหนังสือ

ให้เจ้าหน้าที่คลินิกวัณโรคที่มารับงานใหม่

ของโรงพยาบาลต่างๆในเขตที่ผมรับผิดชอบ

ในหัวข้อเรื่อง

"การควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล"

เป็นเรื่องที่ผมสบายๆอยู่เเล้ว

หากจะมีเวลาให้ผมได้เตรียมตัวสักนิด

ผมจึงต้องขุดคุ้ยหาไฟล์ที่เคยสอนเมื่อ 2 ปีที่เเล้ว

มาปัดฝุ่นใหม่

อาศัยว่าเคยทำเรื่องนี้ตอนอยู่ รพช

เเต่ความตื่นเต้นยังไม่จบเเค่นั้น

เมื่อผู้จัดมาขอให้นำสอนเรื่อง MDR-TB ด้วย

ก่อนเวลาบรรยายจริงเพียง 10 นาที

งานเข้า!!! ผมต้องรีบคุ้ยหาใน Notebook

จำได้ว่าเคยสอนเรื่องนี้อยู่ 2-3 ครั้งเมื่อปีที่เเล้ว

ด้วยบุญเก่า งานนี้ก็เเค่พอถูๆไถๆ ไปได้

มีเรื่องเหลือเชื่อ เนื่องจากNotebook ของผม

ปกติจะไม่สามารถใช้กับ LCD ที่ไหนได้

วันนี้มันสามารถใช้ได้ดีกับโรงเเรมนี้ งง!!!

ผมเริ่มบรรยายด้วยการทักทายผู้ฟัง

เเละต้องขอยืนพูด เนื่องจากผู้บรรยายเริ่มง่วงเเล้ว

หากนั่งมีโอกาสหลับไปบรรยายไปเเน่

เพราะกินอาหารกลางวันที่เขาเลี้ยงฟรีซะอิ่ม

ดูรูปเเล้วจะเห็นว่าผู้บรรยายตาปรือเเล้ว


พอบรรยายไปก็เริ่มเมื่อย ขอนั่งดีกว่า

ใกล้จบ ทำสายตาเชิญชวนให้ถาม เเต่ไม่มีคนถาม

เพราะบรรยายได้ดีมาก!!

บรรยากาศในที่ประชุม

ภาพถ่ายขณะที่ผู้บรรยายกำลังเดินออกจากห้องประชุม

งานวันนี้ ผมบรรยายฟรี เเต่ได้บุญ???

เเถมเสร็จเเล้วต้องเเวะซื้อกาเเฟสด ก่อนกลับสำนักงาน

มาทำงานต่อ

ดาราวัยรุ่นก็เงี้ย เดินสายเป็นว่าเล่น

วันเสาร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553

ข้อคิด "ถังน้ำที่มีรอยแตก"

วันนี้ผมได้รับ Forward Mail จากใครคนหนึ่ง
จำชื่อไม่ได้เพราะวันหนึ่งผมได้รับประมาณ 10-20 เมลล์
ต้องอ่านเเล้วรีบลบ มิฉะนั้นจะเต็ม inbox ของผม

อ่านเเล้วรู้สึกดี
หนังจากที่ตลอดทั้งสัปดาห์ผมงานเยอะมาก
ผลงานออกมาดีบ้าง ไม่ดีบ้าง
เเต่ยังไม่หมดกำลังใจหรอกนะครับ


เรื่องมีอยู่ว่า......

ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่า

เพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร
ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก
ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ

และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง


แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกล จากลำธารกลับสู่บ้าน
จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว


เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็ม

ที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำกลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง
ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจ

ในผลงานเป็นอย่างยิ่ง


ในขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตก

ก็รู้สึกอับอายต่อความบกพร่องของตัวเอง
มันรู้สึกโศกเศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่

ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ ที่มันถูกสร้างขึ้นมา


หลังจากเวลา 2 ปี
ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น


วันหนึ่งที่ข้างลำธาร มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า
'ข้ารู้สึกอับอายตัวเองเป็นเพราะรอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้า
ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทาง

ที่กลับไปยังบ้านของท่าน'


คนตักน้ำตอบว่า

'เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีดอกไม้เบ่งบาน
อยู่ตลอดเส้นทางในด้านของเจ้า
แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่ง



เพราะข้ารู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่
ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้า
และทุกวันที่เราเดินกลับ ...

เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเมล็ดพันธุ์เหล่านั้น


เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ

เหล่านั้นกลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว

ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว ...

เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้'
คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
แต่รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น
อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ

และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้

สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น
และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง
มองโลกหลายๆ ด้าน เพราะคนเราไม่ได้มีแต่ข้อเสียเท่านั้น

ผมหวังเหลือเกินว่า ข้อคิดที่ได้จากเรื่องเล่านี้

คงจะช่วยจรรโลงใจให้ เจ้าหน้าที่ สคร.8

รู้สึกมีกำลังใจในการทำงานเเละมองโลกในเเง่บวก


จริงๆอยากจะประชดคนบางคน

เเต่ไม่เอาดีกว่า

ขอมองเฉพาะเเง่ดี เดี๋ยวเป็นเรื่อง!!!

นิเทศวัณโรคเเบบบูรณาการ 15 มค 53

เมื่อวันศุกร์ที่ 15 มกราคม 2553
สำนักวัณโรค นำทีมโดยอาจารย์หมอนัดดา
อาจารย์หมอยุทธิชัยเเละคณะผู้นิเทศ
ได้กรุณามาเยี่ยมเยียนที่ สคร.8
เพื่อนิ้เทศงานวัณโรคอย่างบูรณาการ
วันนี้ทางคณะจะมานิเทศแบบบูรณาการ
ซึ่งเป็นนวัตกรรมการนิเทศในรุปแบบใหม่
ตามความเข้าใจของผม
หากเรามองการควบคุมวัณโรคเป็นภาพใหญ่ๆ
(สวยหรือเปล่าไม่ทราบ)

จิ๊กซอแต่ละชิ้นที่จะประกอบกันเป็นภาพสวยๆ
นั้นก็คือ ประเด็นที่สำคัญต่างๆของงานวัณโรค
เช่น การบริหาร NTP
การควบคุมในกลุ่มเป้าหมายต่างๆ
การที่วัณโรตไปยุ่งกับโรคอื่นๆ
หรือแม้กระทั้งการบริการแรงสนับสนุน
ซึ่งไม่ค่อยสำคัญ แต่เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้คือเรื่องเงินๆทองๆ
วันนี้ได้มีการอภิปรายปัญญาต่างๆเช่น
องค์กร Catholic (NCCM) ที่ได้ทุนจากกองทุนโรค
เพื่อดูแลผุ้ป่วยพ้นโทษที่อยู่ระหว่างการรักษา
เพราะมีการขาดยาสูงมาก .....

เรื่องยาวัณโรคเด็ก
โรงพยาบาลที่ต้องการเบิกยา
สามารถเบิกได้ที่ องการเภสัช (เบิกเหมือนยาผุ้ใหญ่)
เเต่ของให้บันทึกส่งในแบบลงทะเบียน
เริ่มเมื่อใดยังไม่รู้
เพราะ สปสช กำลังรับบริจาคยา
คาดว่าจะทำได้ประมาณ 14 กพ
เรื่องกิจกรรมในชุมชน
วัณโรคในชุมชนได้เงินเพิ่มอีก180000 บาท
เเต่ต้องส่งเอกสารเพิ่มสัญญา
ประธานเเจ้งเรื่องที่สำนักวัณโรคจะจัดทำคู่มือการนิเทศทำงานทั้งหมด
เพื่อทำให้เห็นภาพ คงต้องรอสักระยะ
สคร.8 ได้โจทย์การบ้าน เรื่อง การบริหาร program/project,
การวิเคราะห์สาเหตุการตายเนื่องจากอัตราตายที่สูง,
MDR-TB/HIV , GF รอบที่ 6 และรอบที่ 8 ,NCCM, รพ เอกชน
ผมคิดว่าถ้าทุกท่านมีเข้าใจเรื่อง MIFA
อะไรๆก็คงจะง่ายเข้า
เลยฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า
ต้องเขียนเรื่องนีส่งตีพิมพ์ดีกว่า

วิธีที่อาจารย์หมอยุทธิชัยได้กรุณาเเนะนำ
วิธีเเก้คือให้ทำดีๆ สักที

หากยังไม่ดี
ก็ต้องทำดีๆ อีกสักที

ท้ายนี้ ผมต้องกราบขอบพระคุณคณะผู้นิเทศทุกท่าน

ที่จะมาให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการทำงาน
และหวังว่าสิ่งที่อาจารย์แนะนำจะได้รับการปรับปรุงแก้ไข
จากผู้ที่เกี่ยวข้องเช่นกัน

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (1)


การอบรมหัวข้อ "การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ"

โดย ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)

ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2553
ณ ห้องประชุม สคร.8 ชั้น 4


หลังจากขึ้นปีใหม่ งานวันนี้เป็นงานวิชาการเเรกที่ถูกจัดขึ้น
ต้องกราบขอบพระคุณท่านผู้บริหารทุกระดับ
ที่กรุณาให้ความสำคัญเเละเปิดโอกาส
โดยอนุมัติโครงการเเละร่วมเป็นส่วนหนึ่งของงาน
ทั้งที่ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นเพียงหมอตัวน้อยๆ
ที่ไม่ค่อยจะรู้เรื่องสักเท่าไหร่

จุดประสงค์หลักคือ
ทำให้เกิดกระบวนการพัฒนาในทุกระดับของ สคร.8

งานวันนี้จะเกิดไม่ได้หากไม่ได้รับความกรุณา
จากท่านวิทยากร คือ ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จาก สวรส

ต้องขอท้าวความสักนิดว่า
ผมเองเคยได้ยินเรื่อง R to R มานานพอควร
ตั้งเเต่สมัยที่ออกจากบ้านนอกไปร่ำเรียนในเมืองกรุง
พอกลับมาทำงาน คิดว่าวิธีนี้น่าจะมาใช้ได้กับ สคร.8
ลองขายไอเดียกับพี่ๆหลายคน
จนตกผลึกเลยทำโครงการออกมา

พอโครงการอนุมัติ
ซึ่งคาดว่าเป็นโครงการเเรกๆที่ออกมาในปีงบประมาณนี้
ก็ต้องหาคณะวิทยากรผู้จะมาให้ความรู้
เเละคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับ สคร.8

ครั้นจะให้หมอโรจน์ทำเองหมดเเบบ all in one
ก็ไม่มีความสามารถเพียงพอ
เเค่ทุกวันนี้คุยกับชาวบ้านรู้เรื่องก็เเทบเเย่เเล้ว
บางครั้งทำให้คิดได้ว่า
ด็อกเตอร์-ด็อกต๋อย-ด็อกเเด้ก เเยกกันไม่คอยออก

ผมเร่งสืบราชการลับไปที่เครือข่ายทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอาจารย์หมอมงคล
ได้เล่าประสบการณ์ของ สคร.2 ให้ฟัง
เเละได้เเนะนำให้ผมไปคุยกับพี่หมอปรีชาจาก สคร.2
สรุปว่า ท่านเเนะนำให้ผมติดต่ออาจารย์จรวยพร

พอได้ยินชื่อ ผมจำได้ว่า
ผมเคยได้ยินเเละได้อ่านชื่อนี้หลายรอบ
เพราะเคยเข้าอบรม
"การบริหารโครงการวิจัยระดับหัวหน้าโครงการ"
ที่จัดโดยคณะกรรมการวิจัยเเห่งชาติ
เป็นเวลาตั้ง 5 วัน เมื่อกลางปีที่ผ่านมา

งานนั้นทำให้ผมได้รู้จักกับด๊อกเตอร์เเละนักวิจัยมากมาย
จากทุกสาขาอาชีพเช่น เกษตร ชีววิทยา ปฐพี
วิศวะ สภาปัตย์ สังคม ศึกษาศาสตร์
พยาบาล จุลชีวิทยา เทคโนโลยีอาหาร
ทหารบก เป็นต้น
(ไม่อยากคุยว่าผมเป็นด็อก..รุ่นเล็ก อายุน้อยเป็นอันดับ 2
ท่านที่เด็กสุดเป็นด็อก...เตอร์จากกรมทางหลวง)
ระหว่างการอบรม ผมต้องเปิดหนังสือเเนะนำผู้เข้าอบรม
ทำให้เจอชื่อ ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์ ทุกครั้ง
เพราะท่านอยู่ในหน้าเเรกๆ
ทุกวันนี้ยังจำชื่อผู้ร่วมรุ่นได้เลย
เเละในหนังสือก็จะปรากฏ e-mail ของอาจารย์ด้วย

ผมจึงไม่รีรอที่จะส่งe-mail ไปเรียนปรึกษา
ส่งตอนเย็น ตอนเช้าของวันรุ่งขึ้นก็ได้รับคำตอบ
เเละสามารถช่วงชิงคิวมาได้โดยเร็ว หากไม่ได้คิวนี้
หมายความว่าผมต้องรอไปอีกประมาณ 2 เดือน
อาจารย์ได้กรุณาโทรมาพูดคุยทันที
เเละได้ตกลงกันว่าการอบรมควรจัดเป็น 4 phase
เริ่มจาก ....
  1. อบรมพื้นฐานเพื่อจุดประเด็นวิจัยก่อน

  2. ติวเรื่องระเบียบวิธี

  3. การวิเคราะห์ข้อมูล

  4. การเขียนรายงานเเละนำเสนอ

ผมติดต่อประสานงานกันอยู่หลายครั้ง
จนได้วันที่ลงตัว
อาจารย์ได้ส่งใบงาน
ให้ผู้ร่วมอบรมทำการบ้านล่วงหน้า
ซึ่งคนของ สคร.8 ก็ได้มีความกระตือรือร้น
กันพอสมควร เลยทีเดียว!!!

หลังได้วัน ผมได้เรียน ผอ.สคร.8
เพื่อให้ท่านมาเปิดการอบรม
ท่านยินดีเป็นอย่างยิ่งเเละได้ลงเวลาในสมุดนัด
ต่อหน้าผมเเละหมอท็อป
เเละบอกว่า "พี่ไปเเน่ๆ"

ก่อนจัดงาน ทุกอย่างดูรีบเร่งไปหมด
หนังสือเชิญถึงมืออาจารย์
ตอน บ่าย 2 ของวันก่อนอบรมเพียง 1วัน
ต้องเตรียมเอกสารการประชุม
เเถมห้องประชุมชั้น 4 ของ สคร.8
ซึ่งเกือบทั้งปีทั้งชาติ ว่างๆๆๆมาโดยตลอด
ดันมาชนกับการจัดประกวด อสม ดีเด่น
ที่หน่วยงานภายนอกจองขอใช้ห้องมาก่อน

งานนี้ร้อนมาถึงหมอโรจน์ เดอะร์สตาร์
(ต้องเเอบเดอะร์สตอร์บ้าง หากจำเป็นจริงๆ)
ต่อโทรศัพท์ต่อรอง จนสามารถสลับห้องได้

เป็นงานที่ไม่คิดว่าจะต้องมาทำ เเต่ก็สนุกดี
ไม่รู้ว่าทำให้เสียพันธมิตรหรือเปล่าไม่รู้???

หนึ่งวันก่อนจัด ก็ได้รับรายงานว่า
จะมีคนจากส่วนกลางมาใช้ห้องอีกห้อง
งานเข้า!!! ครั้นจะจองโรงเเรมก็ไม่ทัน
เเละอาจทำให้ไม่มีคนเข้าฟังเลยก็เป็นได้
สุดวิสัยจริงๆ ก็คงจะต้องเลือกทางเลือกสุดท้าย
คือ ปูเสื่อ หน้า สคร.8
งานนี้ต้องขอบพระคุณพี่รังสรรค์หัวหน้าฝ่ายบริหาร
ที่ได้กรุณาเคลียร์ทางให้
จนเเก้ปัญหามาได้
มิฉะนั้น หมอโรจน์โดนยำเละเเน่ๆๆ


อีกท่านที่ต้องใช้คำว่า"กราบขอบพระคุณ"
คือคุณธัชภร อัครนันทกุล
หรือ คุณเอ จากกลุ่ม สว.
ที่เป็นผู้จัดการงานทั้งหมด
ทั้งที่ตั้งครรภ์ลูกคนที่ 2 อยู่ด้วย
ต้องชื่นชมเป็นอย่างยิ่ง

การเชื้อเชิญเจ้าหน้าที่ของ สคร.8
ก็เป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
ผมต้องใช้ยุทธวิธีหลายอย่าง
ไม่ว่าจะส่งเมล์จิกเป็นรายบุคคล
ปล่อยข่าวรายวัน ปิดประกาศ
ขุ่บังคับ ให้สิ่งจูงใจ etc.
ทำให้รู้ว่า มันไม่ใช้เรื่องง่ายๆ
เเต่ก็ท้าทายดี !!!


มีอีกหลายเรื่องที่รู้สึกว่ายังทำได้ไม่ดี
(รู้เเต่พูดไม่ได้!!!)
เอาไว้เเก้มือโอกาสหน้า
นี่เเค่เกริ่นเรื่องนะครับ ยังไม่เข้าเนื้อหาเลย

วันจริง ผมรีบมาที่สำนักงานเพื่อเตรียมเอกสาร
โดยเฉพาะ สิ่งที่ผมจะขอความกรุณา
ให้ ผอ.สคร.8 ย้ำในตอนเปิดการอบรม
ระหว่างเดินขึ้นตึกได้พบกับคุณกอล์ฟ กลุ่ม สว
(หากอยากรู้วีรกรรมของท่านนี้ ให้กลับไปดูหัวข้อ"งานปีใหม่" ฮิๆๆ)
ผมทราบว่าเขาจะเป็นตัวเเทนไปรับอาจารย์จาก กทม ตั้งเเต่เช้ามืด
เขาบอกด้วยน้ำเสียงหนักเเน่ว่า.....
ผมพาอาจารย์มาถึงตั้งเเต่ สองโมงครึ่งเเล้วครับ!!!

อ้าวไม่มีใครบอกผม จะได้รีบไปตอนรับ
เพราะเกรงว่าจะเสียมารยาท
เเต่ระหว่างทาง ผมต้องนำเอกสารที่จะกล่าวเปิดให้ ผอ
ท่านได้สอบถามผมเล็กน้อย
เเละเดินไปห้องประชุมพร้อมกับผม

ผอ เเละผมได้ทำความรู้จักกับอาจารย์จรวยพร
เเละก็เริ่มเปิดการอบรม
โดยหมอโรจน์เป็นผู้กล่าวรายงาน


ท่าน ผอ.สคร.8 ได้กรุณากล่าวเปิด
เเละให้เเนวดำเนินงานเกี่ยวกับ R2R
เเถมท่านเเอบเปิดเผยความลับที่ว่า
ผมเป็นคนร่างประเด็นที่ขอให้ท่านช่วยกล่าวย้ำ
เพื่ออาศัยอำนาจบารมีของท่าน
ด้วยเอกสารที่ใช้ฟอนด์ Angsana ขนาด 24
ซึ่งผู้อ่านสามารถมองเห็นได้ประมาณ 2 ระยะเสาไฟฟ้า
เอกสารนั้นผมพิมพ์ว่า.......

" สิ่งที่ขอความกรุณาให้ ผอ.สคร.8 กล่าวย้ำในพิธีเปิด คือ

1.หลังผ่านการอบรมแล้ว หวังว่าอย่างน้อยทุกท่าน
จะจุดประกายความคิดที่จะพัฒนางานที่ตัวเองได้รับมอบหมายให้ดีขึ้น(มาบ้าง)

2.การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้มีการมอบหมายให้
ตัวแทนแต่ละกลุ่ม/ฝ่ายดำเนินโครงการ
อย่างน้อย 1 เรื่อง โดยมี นพ.ไพโรจน์
เป็นพี่เลี้ยงค่อยกำกับติดตาม อย่างเป็นกัลยาณมิตร
และจะรายงานความก้าวหน้าให้ ผอ.สคร.8 เป็นระยะ

3.หวังว่าในปีต่อไป จะมีผลงานออกมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆๆ

4.สคร.8 จะผลักดันให้ได้นำเสนอผลงานในเวทีวิชาการ "

เเต่ละคำที่ท่านกล่าวได้รับคำชมจากอาจารย์จรวยพรว่า
เป็นการสะท้อนถึงความเป็นผู้ที่เข้าใจ R2R อย่างเเท้จริง
ยิ่งทำให้การอบรมเเละการพัฒนาจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายขึ้น



ภาพที่ ผอ.สคร.8 กล่าวเปิดการอบรม


อาจารย์ ดร.จรวยพร ได้เริ่มให้ความรู้


ผมขออนุญาตสรุปโดยการก็อปปี้จาก

power point ของอาจารย์มาดังนี้

Routine to Research (R2R) หมายถึง


  • การใช้งานวิจัยเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดการสร้างความรู้เพื่อนำมาพัฒนางานประจำ ในขณะเดียวกันก็ทำให้คนที่ทำงานประจำมีโอกาสคิด ทดลอง และตั้งโจทย์ให้มีความชัดเจนขึ้น แล้วทำการทดลอง เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล

  • ใช้งานวิจัยมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถของคนทำงาน ผลิตผลงานเชิงวิจัยออกมาได้ แล้วป้อนกลับไปพัฒนางานประจำให้ดีขึ้น”

ทำไม ต้องทำ R2R

  • มี ปัญหา ที่ต้องการแก้ไข

  • มี เรื่อง ที่ต้อง ทำ ให้ดีขึ้น

  • ต้องการ คำตอบ ที่แม่นยำ เชื่อถือได้

  • ตอบด้วย สามัญสำนึก ไม่ได้

  • ต้องการ พัฒนางานและพัฒนาตนเอง
ลักษณะงาน R2R: 4 ส่วนสำคัญ

  1. คำถามวิจัย
    ต้องมาจากงานประจำ
    ต้องแก้ปัญหางานประจำ
    ต้องการพัฒนาคุณภาพงานประจำ

  2. ผู้จัดทำ
    เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานประจำที่เจอปัญหานั้น
    อาจต้องทำงานวิจัยร่วมกับผู้มีประสบการณ์ที่เคยทำมาก่อน

  3. ผล
    วัดได้โดยตรงที่สุขภาพของผู้ป่วย หรือระดับคุณภาพการบริการ
    หรืออาจเป็นผลลัพธ์ด้านอื่น เช่น การบริหารจัดการดีขึ้น

  4. การนำไปใช้ประโยชน์
    นำกลับไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วย หรือการบริการของหน่วยงาน

ท่านได้สอนอะไรต่างๆมากมายเกี่ยวกับ R2R
ได้เเก่......
  • ความหมาย R2R

  • ความต่างกับวิจัยอื่นๆ

  • หลักการทำ

  • ทำไม ต้องทำ R2R

  • ลักษณะงาน R2R

  • ประเด็นการทำ R2R

  • รูปแบบการทำ R2R

  • รูปแบบการวิจัย

  • KM และ R2R

  • รูปแบบการเขียนโครงร่างงานวิจัยจากงานประจำ
    (ที่มาปัญหาและวัตถุประสงค์ ระเบียบวิธีวิจัย กลุ่มตัวอย่าง
    วิธีการศึกษา สถานที่ ช่วงเวลา การวิเคราะห์ข้อมูล
    แนวทางการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในงานประจำ
    ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงวิธีการทำงาน)

อาจารย์ได้มาทำให้พวกเราเห็นว่า R2R ไม่ใช่เรื่องยาก

สามารถทำได้ ทำให้เกิดการพัฒนาทุกระดับเเละเป็นประโยชน์เห็นๆ

ผมคงไม่สามารถเล่าสิ่งที่อาจารย์สอนได้ทั้งหมด

เปรียบเหมือนกับผมกำลังบรรยายภาพสวยๆ อยู่ภาพหนึ่ง

ต้องเล่าทุกมุมมอง เพื่อประกอบในเหมือนเห็นภาพ

มันคงจะดีกว่าถ้าคนที่จะมาฟังผมเล่า

ได้เห็นภาพนั้นด้วยตัวเขาเอง

เเต่จะดีมากหากได้ทดลองมือวิจัย R2R เอง

ประเด็นที่ท้าท้ายในบริบทของ สคร.8

  • กรอบการทำงานของ สคร.8 / งาน routine ของ สคร.8 คืออะไร

  • ต้องการผลอะไรเเละนำไปใช้ทำอะไร

  • มิติไหนที่เราสมควรพัฒนาเป็นอันดับต้นๆ

  • ใครจะมาทำบ้าง

  • etc

มันออกจะเป็นปรัชญานิดๆ

ผมว่าคนของ สคร.8 เข้าใจอะไรง่ายอยู่เเล้ว

ความท้าทายที่ผมทิ้งไว้ หาคำตอบได้ไม่ยาก จริงไหม??


รูปของหมอโรจน์ ผู้รับผิดชอบโครงการ

ภาพมุมหนึ่งของผู้เข้าอบรม
อุตส่าห์ถ่ายไกลๆเเล้ว เเต่ก็ยังเห็นหัวล้านของผมจนได้

ถ่ายรูปหมู่ตอนจบการอบรม

เเต่กว่าจะมาถึงภาพนี้ได้ ให้ตามไปดูหัวข้อนี้ในภาค 2-3-4-5-6

ผมจะเล่าให้ฟังเป็นช็อตๆ




ติตตามภาคต่อไปครับ

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (2)

การอบรมหัวข้อ "การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ"
โดย ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2553ณ ห้องประชุม สคร.8 ชั้น 4

ภาพนี้พี่มานพกำลังนำเสนอโครงการ R2R ของกลุ่มโรคไม่ติดต่อ

พี่ถ้อกำลังให้ความเห็นเเละถามคำถามระหว่างการอบรม


ภาพถ่ายขณะอบรม

วิวไกลๆ ของพิธีเปิดการอบรม

รูปคุณเอ ผู้จัดการการอบรมครั้งนี้

พักรับประทานอาหารกลางวัน ท่าน ผอ เข้ามาร่วมด้วยเเละ
เเถมด้วยการร่วมนั่งวิพากษ์ตลอดช่วงบ่าย

ภาพอาจารย์หมอชัยรัตน์เเละ ดร.จรวยพร ตอนเปิดการอบรม

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (3)

การอบรมหัวข้อ "การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ"
โดย ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2553ณ ห้องประชุม สคร.8 ชั้น 4


บรรยากาศระหว่างการอบรมวันเเรก


ทุกคนกำลังตั้งอกตั้งใจฟัง

บรรยากาศช่วงบ่าย ระหว่างที่อาจารย์จรวยพรเเละ ผอ
กำลังให้ความเห็นงานของกลุ่มโรคเรื้อน
นำเสนอโดยพี่ธิดา(พี่ป้อม)
ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยงบจากสถาบันการเเพทย์ฉุกเฉิน???

ท่าทาง ลีลาของอาจารย์ขณะกำลังสอน
ตื่นเต็น ชวนติดตามทุกช็อต

สายตาเเห่งความมุ่งมั่น สำเร็จไปเกินครึ่งเเล้ว

หลังนำเสนอ ถูกใจ ผอ เป็นอย่างยิ่ง
เเละพร้อมให้การสนับสนุนงบประมาณ
ในระยะสั้น มอบรางวัลเป็นกำลังใจก่อน
พี่สายรุ้งกำลังสอบถามความเห็นจากอาจารย์เเละตอบคำถาม
โดยมีคุณครูเเอนนั่งอยู่ใกล้ๆ
เป้จากกลุ่มเเมลง ได้นำเสนอโครงการของกลุ่ม

การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ (4)

การอบรมหัวข้อ "การพัฒนางานวิจัยจากงานประจำ"
โดย ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
จากสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส)
ระหว่างวันที่ 13-14 มกราคม 2553 ณ ห้องประชุม สคร.8 ชั้น 4

พี่เกรียงกมลกำลังนำเสนอโครงการของกลุ่ม สว (ตัวเเทนจากฝั่ง สว: สูงวัย)
ที่นั่งใกล้คือน้องเมย์ก็นำเสนอเพิ่มอีกหนึ่งโครงการของ สว (ตัวเเทนจากฝั่ง สว : สวยโว้ย)

น้องๆจากฝ่ายบริหารที่ท่าทางจะตื่นเต้นเเต่ก็ทำได้ดี
จนอาจารย์ชม
พี่รังสรรค์กำลังให้ความเห็นเรื่องการจัดการอบรมR2R

พี่บุญนัฐนำเสนอโครงการของกลุ่มระบาด

หลังจากทุกกลุ่มนำเสนอเสร็จ
อาจารย์จรวยพรได้สรุปประเด็นให้ฟังเเละสอนการทำวิจัยต่อ

ภาพขณะอาจารย์บรรยายในวันที่ 2

น้องไก่มาเเรง เพราะนำเสนอความเห็นได้อย่างดุเดือดมาก

พี่พรคนงามก็มา พี่บอกว่า ตอนเเรกจะมาฟังเเค่วันเเรก
เเต่ติดใจเลยขอตามมาฟังอีกวัน
หมอท็อปก็มา เเถมให้ความเห็นดีๆเกี่ยวกับการอบรมเเละการทำวิจัย
ตอนนี้โครงการของหมอท็อปไปไกลกว่าครึ่งเเล้ว

จะเห็นกองหนังสือข้างๆหมอโรจน์ เอาไว้เป็นสิ่งจูงใจให้ตอบคำถาม
น้องผู้รับผิดชอบงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นำเสนอโครงการ
โดยมีพี่นี นั่งประกบเพื่อให้กำลังใจ

ช่วงเช้า ผอ.สคร.8 ร่วมมาฟังการนำเสนอโครงการด้วย
ทำให้ทุกกลุ่มฝ่ายมีกำลังใจทำโครงการต่อไป

หลังจากตอบคำถาม ต้องมารับของรางวัลจากผม
พี่รังสรรค์ที่นอกจากให้ความกรุณาเคลียร์ทาง
เเละให้ความร่วมมือในการจัดงานเป็นอย่างดี