วันอังคารที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายชื่อตำแหน่งเป็นภาษาอังกฤษ ตาม พรบ.กพ ปี 52

เมื่อเร็วๆนี้หมอโรจน์จำเป็น
ต้องอัพเดท CV ของตัวเอง
สบายๆอยู่เเล้ว เเต่........

ต้องมาติดตรงตำเเหน่งของผมไม่รู้จะเขียนว่าอย่างไร
เเถมต้องเปลี่ยนจาก ชำนาญการ
เป็น ชำนาญการพิเศษด้วยเเล้ว ยิ่งงง

เกรงจะเขียนผิดๆถูกๆ
จึงเข้าไปค้นในเว็บของ กพ
ก็พบว่าเขาได้กำหนดชื่อเป็นภาษาอังกฤษไว้เเล้ว
ผมจึงขอนำมาเเบ่งปัน
หากใครต้องใช้จะได้หาได้เลย

ตามนี้ครับ............................

นายแพทย์
Medical Physician

พยาบาลวิชาชีพ
Registered Nurse


นักรังสีการแพทย์
Radiological Technologist


นักวิชาการสาธารณสุข
Public Health Technical Officer


เจ้าพนักงานธุรการ
General Service Officer หรือ Office Clerk


เจ้าพนักงานพัสดุ
Supply Officer


เจ้าพนักงานเวชสถิติ
Medical Statistics Technician


เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
Finance and Accounting Officer


เจ้าพนักงานเภสัชกรรม
Pharmaceutical Assistant หรือ Pharmacy Technician


เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์
Radiographer Technician


เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์
Medical Technician Assistant หรือ Medical Science Technician


เจ้าพนักงานสาธารณสุข
Public Health Officer


พยาบาลเทคนิค
Technical Nurse


1. ตำแหน่งประเภทบริหาร (Executive Positions)

ก. ระดับต้น (Primary Level)
ข. ระดับสูง (Higher Level)

2. ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (Managerial Positions)

ก. ระดับต้น (Primary Level)
ข. ระดับสูง (Higher Level)

3. ตำแหน่งประเภทวิชาการ (Knowledge Worker Positions)

ก. ระดับปฏิบัติการ (Practitioner Level)
ข. ระดับชำนาญการ (Professional Level)
ค. ระดับชำนาญการพิเศษ (Senior Professional Level)
ง. ระดับเชี่ยวชาญ (Expert Level)

จ. ระดับทรงคุณวุฒิ (Advisory Level)

4. ตำแหน่งประเภททั่วไป (General Positions)

ก. ระดับปฏิบัติงาน (Operational Level)
ข. ระดับชำนาญงาน (Experienced Level)
ค. ระดับอาวุโส (Senior Level)

ง. ระดับทักษะพิเศษ (Highly Skilled Level)

ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภทบริหาร (Executive Positions)
นักบริหารต้น Executive, Primary Level

นักบริหารสูง Executive, Higher Level

ตัวอย่าง ตำแหน่งประเภทอำนวยการ (Managerial Positions)
ผู้อำนวยการต้น Director, Primary Level
ผู้อำนวยการสูง Director, Higher Level


สรุปว่าของ หมอโรจน์
นายเเพทย์ชำนาญการพิเศษ จึงต้องเขียนว่า......

Medical Physician,
Senior Professional Level

หวังว่าคงเกิดประโยชน์ในภายภาคหน้า
หรือ ชาติหน้า?? นะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2553

หนังสือ"ก้าวไปในบุญ"

วันนี้หลังจากกลับจากไปงานสัมมนากรมควบคุมโรคปี 53
ผมเห็นกล่องไปรษณีย์หนังสือเล่มนี้อยู่บนโต้ะ

หนังสือชื่อ"ก้าวไปในบุญ"

ของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์

ต้องขออนุโมทนากับกลุ่มระบาดด้วย

เนื่องจากผมตั้งใจนำค่าวิทยากร

ที่ผมได้ไปรับใช้ในการประชุมของกลุ่มระบาด

มาเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์เพื่อเป็นธรรมทาน

เนื้อหาหนังสือดีเเละเป็นประโยชน์มาก

ผมขอลอกเฉพาะสารบัญมาให้อ่าน เพื่อเป็นการเชิญชวน

จะเห็นว่าน่าสนใจมาก(มีต่อ)

สารบัญ

ก้าวไปในบุญ.................................................๓
แก้ความเข้าใจ ความหมายของบุญ ที่แคบและเพี้ยนไป................๓
ให้ทานอย่างไร จึงจะได้ทำบุญอย่างสมบูรณ์...........................๖
ไปทำบุญอย่างเดียว แต่ได้กลับมาสามอย่าง...........................๘
ถ้าจะทำบุญ ก็ควรทำให้ครบทุกความหมาย...........................๙
หนทางที่จะทำบุญ มีอยู่มากมาย....................................๑๒
ทำบุญ ต้องให้สมบูรณ์ขึ้นไปถึงปัญญา..............................๑๕
บุญที่แท้แผ่ความสุขออกไป
ให้ความงอกงามทั้งแก่ชีวิตของเราและทั่วสังคม...................๑๖
โยมทำบุญแล้ว พระก็อนุโมทนา
แต่ถ้าโยมทำบุญเพราะพระชวน อาจจะเสี่ยงต่ออเนสนา..............๑๙
ทำบุญ ทำที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าทำอะไร ถ้าทำเป็น ก็ได้บุญ...............๒๒
ศึกษาบุญไป ให้ปุญญะกับปัญญามาบรรจบกัน
ก็จะมีผลสมบูรณ์ กลายเป็นบุญอย่างสูงสุด......................๒๕

หากผู้ใดสนใจอยากได้หนังสือเล่มนี้ไว้อ่าน

ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม

โดยขอความกรุณาให้ลงชื่อรับหนังสือด้วย

(หนังสือมีจำนวนจำกัด 100 เล่ม)

เเละหากวิธีเผยเเพร่ธรรมะวิธีนี้ได้รับการตอบรับดี

หมอโรจน์เเละผู้มีจิตศรัทราจะจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ

เเจกเป็นธรรมทานอีกเป็นระยะๆ

สุดท้าย ผมยินดีอนุโมทนาบุญ

กับผู้ที่จะมาร่วมทำบุญกับผมนะครับ

Getting research into policy and practice

วันนี้ผมไปร่วมสัมมนากรมควบคุมโรคประจำปี 2553

วันที่ 10-12 มีนาคม 2553
มีหัวข้อการสัมมนาที่น่าสนใจต่างๆมากมาย
เเต่มีหัวข้อหนึ่งที่ผมกากบาทไว้ว่าจะเข้าไปฟัง
คือ


หัวข้อ"Getting research into policy and practice"
โดย
1. นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค
2. ผศ.ดร.นพ.สุขุม เจียมตน ม.มหิดล



ดำเนินการเสวนา โดย
นพ.เฉวตสรร นามวาท สำนักระบาดวิทยา



วันนี้ผมขอcopy สิ่งที่ผมได้ขีดเขียนเอาไว้ระหว่างฟังการเสวนา
การเขียนอาจจะดูไม่ปะติดปะต่อตามหลักภาษาศาสตร์
เเต่คนพอมีปัญญาอยู่บ้าง คงทำความเข้าใจได้ไม่ยาก
รองฯสมศักดิ์
ได้กล่าวเรื่องขั้นตอนการควบคุมโรค
Prevention--> Control-->Elimination-->Eradication

How to handle Public Health Tasks.
  1. Epidemiology
  2. Natural History
  3. Public Health Mind

-Prevention+Promotion

-IT

-Research Mind

-Learning Person

งานวิจัยในความฝันของกรม (Dream)

  1. เป็นประโยชน์-->เเก้ปัญหา-->พัฒนางาน
  2. คุณภาพ--> ระเบียบวิธีวิจัย+จริยธรรม
  3. ทำงานเป็นทีม+เครือข่าย
  4. การสนับสนุนการวิจัยที่ดี

ปัจจัยสำคัญ

  1. โจทย์วิจัย
  2. ระเบียบวิธีวิจัย
  3. คน
  4. Basic Statistics

โจทย์สำคัญ

  1. ตอบโครงการของการป้องกันควบคุมโรค หลายโครงการดีเเต่ยังไม่เคลียร์ ยกตัวอย่างเช่น สุขภาพดีวิธีไทย การจัดการสิ่งเเวดล้อม เป็นต้น
  2. การพัฒนามาตรฐาน/นโยบายในการป้องกันควบคุมโรค เช่น คำตอนเกี่ยวกับนโยบายปิดโรงเรียนระหว่างการระบาดของไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
  3. พัฒนาเเนวทางการให้บริการ เช่นการรักษา MDR-TB จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลทุกรายหรือไม่ เป็นต้น
  4. การบริหารทิศทาง ทุกวันนี้มีความเข้าใจไม่ชัดเจนระหว่าง
    นโยบาย<==>หลักฐานเชิงประจักษ์

พัฒนาคน
ชอบเรียนไปทำไม การเรียนที่เเท้จริงคือการทำงาน
ในเเต่ละสคร/สำนักควรมี 5 เสื้อวิจัย คือคนที่เก่งในสาขาต่อไปนี้

  1. Methodology
  2. Statistics
  3. Economics
  4. Social Sciences
  5. Policy Research

ระบบวิจัยของกรม

  1. policydriven research
  2. policy linked research

M&E

  • Ethical Committee


ประโยคเด็ดที่ท่านได้ย้ำคือ
"อาจทำงานประจำให้เป็นงานวิจัย
ไม่ใช่งานวิจัยเป็นงานประจำ"


การจัดการงานวิจัย
กรมวางให้สถาบันบำราศนราดูรเป็น Clinical Research Center

ข้อพึ่งระวัง!!!

  • Recycle โจทย์วิจัย
  • วิจัยที่ไม่ได้มาตรฐาน
  • การวิจัยที่ทำคนเดียว
  • ท่านได้พูดถึงผู้บริหารโดยเฉพาะใน สคร ที่ยังมีความ "เหนาะเเนะ"
    (ผมไม่กล้าให้นิยาม เพราะบารมีไม่ถึง)

ท่านได้พูดถึงความเปลี่ยนเเปลง
เเกนการปฏิบัติงาน ต้องสมดุลกัน
เเกน X= วิชาการ
เเกน Y= ปฏิบัติงาน

Nature of Work

Complex------------------------------->
Simple Stable ->Risk Management->
Complex unstable->Crisis Management
Dynamix------------------------------->



ผลจากการบริหารที่ดี
ลด Crisis Management-->ลด risk Management-->เกิด Simple Stable (Systematic)

Proactive --> Ahead of Change


Ahead of Change= Start Now!!!

How to Change

  • Mindset
  • Start from self
  • Abrupt (self) & Gradual (system)
  • Teamwork

ความเห็นของหมอโรจน์
(หมอตัวน้อยๆในซอกเล็กๆของกรมควบคุมโรค)

อุปสรรคที่ท้าทายที่ควรนำไปพิจารณา...................

  1. การเปิดทางให้กับการวิจัย: คนจะทำวิจัย ไม่มีใครสนับสนุนเลย ทุกทางออกมีปัญหารออยู่เเล้ว หลายครั้งเป็นปัญหาที่มีคนตั้งใจให้เกิดปัญหา (ไม่กล้ายกตัวอย่าง เพราะคงเข้าใจกันดี)
  2. ความใจกว้างของผู้บริหาร : หัวหน้าไม่อยากให้ลูกน้องดีกว่า หัวหน้าจิกหัวเอาผลงานของลูกน้องไปเป็นของตัวเอง หัวหน้าใช้อำนาจเเละบารมีบังคับให้ลูกน้องทำเเทน หัวหน้าหน้าด้านขึ้นไปรับรางวัลเเทน เป็นต้น
  3. งานวิจัยที่เจ้านายเเอบทำเพื่อสนองอำนาจใครบางคน: ทั้งที่เป็นงานที่ไม่มีคุณภาพ ช่างกล้า!!
  4. จริยธรรมการวิจัยของผู้วิจัยเอง: ไม่ค่อยหน้าห่วง เพราะมี "บาปบุญคุณโทษ เวรกรรม" รอเล่นงานเเทนกรมอยู่เเล้ว
  5. เงินทุนวิจัย ระเบียบการใช้เงิน กลเม็ดการใช้เงิน: ไม่ยืดหยุ่น ไม่สะท้อนความเป็นจริง กลัวมากไปโดนสัณณิฐานไว้ก่อนว่านักวิจัยทุจริตจนกว่าจะมีการพิสูจน์ ซึ่งนักวิจัยในคราบจอมโจรก็ผ่านการพิสูจน์ได้อย่างสบายๆ เเละมีให้เห็นประปราย!!!
  6. การสร้างนักวิจัย : มีเเต่การอบรมกันเข้าไป ไม่ทำจริง นักวิจัยไม่ขนขวาย เข้าหาคนไม่เป็น ไม่ยอมคน ข้าขอเก่งคนเดียว
  7. ตัวชี้วัด<=>คุณภาพ เอาอันไหนเเน่ สุดท้ายไม่ได้ทั้งตัวชี้วัดเเละไม่ได้คุณภาพ
  8. ไม่มีมือทำ : งานสัพเพเหระเต็มไม้เต็มมือไปหมด โดยเฉพาะงานเสนอหน้าให้เจ้านายเห็น
  9. Information System : เรื่องใหญ่ ไว้ขออธิบายอีกหนึ่งหัวข้อดีกว่า
  10. Streak holder Analysis นักวิจัยกรม.คร ขาดทักษะนี้เป็นอย่างมาก
  11. Policy <=> Routine, Policy<=> Evidence(s) เอาอย่างไรกันเเนะ!!!
  12. Group working (ในฝัน) --> JIG(จิก) working (เจ้านายจิกหัว สั่งให้ทำ)
  13. นักวิจัยเขียนผลงานไม่เป็น เเละไม่พยายามที่จะเขียนให้ดีขึ้น

หวังว่าสิ่งที่ผมได้ขีดเขียนไว้คงจะพอเป็นข้อมูลนำเขา

เพื่อนำไปใช้พัฒนาการวิจัยต่อไป.

โปรดติดตามชมตอนต่อไปครับ

พิธีเปิดสัมนากรมควบคุมโรคปี 53


วันที่ 10-12 มีนาคม 2553
สัมมนากรมควบคุมโรคปี 2553
หมอโรจน์ขอนำภาพที่เก็บได้
มาระหว่างการเข้าร่วมพิธีเปิดการสัมมนา

ขอในรูปมานำเสนอก่อน
เเล้วคำบรรยายจะตามมาติดๆครับ
















บูธ อบต.วังกรมในงานสัมนากรมควบคุมโรคปี 53

งานสัมนากรมควบคุมโรคปี 53
ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 10-12 มีนาคม 2553

ผมขออนุญาตนำบูธ อบต.วังกรด
มานำเสนอให้ชาวโลกได้รับรู้ถึงความอลังการที่เกิดขึ้นจริง
เเละเกิดประโยชน์ที่สัมผัสได้จริงๆ

นี่เป็นภาพที่ผมถ่ายไว้ตอนสี่ทุ่ม ของคืนก่อนงาน

อบต.วังกรด มีเเนวคิดเรื่องการหยุดเหล้าโดยเริ่มที่งานศพก่อน
มีคำขวัญรณรงค์มากมาย
ลองอ่านดูนะครับ



มีโล่ห์รางวัลต่างๆมากมายมาประกันความสามารถ


ใครสนใจเลิกเหล้า เชิญ ฟรีๆๆๆๆ

ชอบอันนี้จังเลย

ภาพท่านนายกอบตมานะ ถ่ายคู่กับหมอโรจน์ เเห่ง สคร.8

หมอโรจน์เเอบหนีเด็กๆไปถ่ายรุปคู่กับพรีเซนตอร์ของบูธ อบต.วังกรด
มุกนี้เรียกเเขกได้ดีที่เดียว
(หน้าเหมือนคนรุ่นเดียวกัน)
รูปนี้เป็นการถ่ายภาพร่วมกันระหว่างทีมจาก อบต.วังกรด กับทีมจาก สคร.8
เเสดงถึงความเหนียวเเน่นในการทำงานร่วมกัน
อบต.วังกรด เป็นเครื่อข่ายการทำงานที่ สคร.8 ภูมิใจมาก
ผมเชื่อมั่นว่าเราจะร่วมกันทำงานอย่างนี้เสมอไปครับ
ขอบคุณพี่ๆทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการจัดงานครั้งนี้เป็นอย่างดี

งานสัมมนากรมควบคุมโรคปี 53 (1)

วันที่ 10-12 มีนาคม 2553
สัมมนากรมควบคุมโรคปี 2553
กว่าจะมาถึงวันนี้ได้ ผมเเละทีมงานต้องทำงานกันหนักมาก
เเต่คนที่หนักที่สุดคือคุณเอ ธัชกร
คุณเอต้องประสานงานต่างๆมากมาย
ทั้งที่เป็นผู้หญิงท้องเเก่ใกล้คลอดเเล้ว
สู้กับทุกอุปสรรคเเบบสุดๆ
(ปีนี้หากคุณเอไม่ได้สิ่งตอบเเทนหรือสิ่งจูงใจ
เเบบพิเศษๆจาก สคร.8 เลย ก็ถือว่าเเปลกมากๆๆ)

ตัวผมเองไปถึง ไบเทคในคืนก่อนงานเริ่มตอนสี่ทุ่ม
เพราะตอนกลางวันต้องเป็นข้าราชการที่ดี
ตรวจคนไข้วัณโรคที่ สคร.8 ก่อน
เเล้วจึงกลับมาเก็บข้าวของขึ้นรถ
กว่าจะถึงเเละมีโอกาสหลงด้วยเเต่ไม่เป็นไร
มีหมอท็อปล่วงหน้าไปก่อน หากหลงโทรถามทางได้
เพราะหมอท็อปบ้านอยู่เเถวนั้น

เริ่มด้วยบรรยากาศตอนเช้าก่อนเข้างาน


ห้องประชุมไบเทค ใครไม่เคยเห็นก็เเหกตาดูซะ


หน้างานก็จะพบกับเรือกู้ชีพของ สคร.9
ตั้งอยู่ชั้นล่างหน้างาน(สงสัยใหญ่จัด เข้าประตุไม่ได้ละซิ)


นี่คือภาพเเรกที่ผมเห็นตอนสีทุ่มในคืนก่อนงานเริ่ม



มองมุมนี้ ยืนยันถึงความสุดยอด
ต้องชื่นชมคุณเป้ จากกลุ่มเเมลง
ที่กรุณาออกเเบบเเละออกเเรง
ทุกอย่างดูลงตัว (สวยเหมือนคนคิด)


ต้นไม้ สคร.8ตั้งตระหง่านอยุ่ที่หน้าบูธ
เเสดงถึงการเเตกกิ่งก้านสาขาหรือการสร้างเครือข่าย
การทำงานของ สคร


รูปนี้คือ ผู้ก่อตั้ง ร่วมคิด ร่วมทำกันมาตั้งเเต่ต้น
ได้เเก่ (เรียงจากซ้ายไปขวา)
คุณเป้ คุณพี่สุพร พี่ใหญ่ หมอโรจน์
เเละสาวน้อย(ขอโทษด้วยจำชื่อไม่ได้ ใครรู้บอกผมด้วยเเล้วจะมาเเก้ชื่อให้)

อีกทีม รู้ชื่อเเค่ น้องกุ้ง กันพี่ใหญ่ ที่เหลือรายงานชื่อด่วน

ภาพนี้พี่สำนักประชาสัมพันธ์มาสัมภาษณ์เเบบที่ผมไม่ได้ตั้งตัว
ก็ตอบไปตามความเป็นจริง
เเต่อย่างไรก็ได้รับคำชื่นชมจากพี่เขานะครับ
ที่ขาดเสียไม่ได้คือ ท่าน ผอ.สคร.8 เเละ มล.นิตยา
หมอท็อปที่เเอบด้านหลัง ฮิๆๆ
พี่รังสรรค์ที่ให้ความสนับสนุนมาโดยตลอด
ที่เห็นสุภาพสตรีที่ต้นไม้ไม่สามารถปิดเธอมิดคือพี่นี จากฝ่ายธุรการ
เเละท่านนายกมานะ จาก อบต วังกรด ที่มาร่วมงานนี้ด้วย
โดยท่านให้เกียรติมาถ่ายรุปร่วมด้วย
อีกมุมมองหนึ่ง
มีเพิ่มคือพี่ป้อม คุณนายจากสถาบัน EMS อยู่ขวาสุด
ต่อไปเป็นคำศัพท์ต่างๆๆที่เเสดงให้เห็นมิติการสร้างเครือข่าย
การทำงานของ สคร.8
ดูหรืออ่านกันเองนะครับ
ไม่ขออธิบาย







งานนี้ต้องกราบขอบพระคุณทีมงานจากสำนัก KM
ที่ต้องเตรียมงานอย่างหนักมาตลอด
โทรประสานงานกับผมหรือคุณเอมาตลอด 3-4 เดือน
ส่วนสคร.8 ผมขอกราบขอบพระคุณทุกท่าน
ที่มาร่วมมือก็ดี
ร่วมทำงานก็ดี
หรือส่งเเรงใจมาช่วยก็ดี
ทำให้งานนี้สามารถสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
โดยเฉพาะ พี่ใหญ่ คุณเป้ คุณเอ เเละทีมจาก สว/เเมลง/บริหาร etc
ต้องขอโทษที่อาจกล่าวชื่อได้ไม่หมด
เเต่ผู้ที่ร่วมงานกับผม ผมจำหน้าได้ทุกคนนะครับ
ชาตินี้จะไม่ลืมพระคุณเลย
บอกได้เลยว่าความประทับใจหนึ่งที่ผมมีคือ
ทุกครั้งที่ สคร.8 ต้องเผชิญกับงานที่มาเเบบคาดไม่ถึงหรือหาคนมาช่วยไม่ได้
ผมจะเห็นความมีน้ำใจของพี่ๆทุกครั้ง
หวังเหลือเกินว่าต่อไปก็คงจะได้รับความร่วมมือเช่นนี้อีกนะครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2553

การบรรยายของหมอพงษพิสุทธิ์ ผอ.สวรส

การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา
ของกรมควบคุมโรค วันที่ 4-5 มีนาคม 2553
ณ บ้านทิพย์สวนทอง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม

ผมขอนำเสนอสิ่งที่ค้างคาไว้เมื่อตอนที่เเล้ว

ผมขอCOPY สิ่งที่ผมได้พิมพ์ระหว่างฟังหมอพงษ์พิสุทธิ์ จาก สวรส

ลองอ่านดูนะครับ....................

คนอื่นอาจอ่านไม่รู้เรื่องเเต่ผมเข้าใจนะครับ

เเละจะรู้สึกเสียดายมากหากพลาดโอกาสดีๆอย่างนี้

นพ.พงษ์พิสุทธิ์ จาก สวรส

พูดถึงการสร้างคน การขาดคน
เราจะเจอคนที่บ้างาน กับคนที่เรียนจบ ป.เอก ที่บ้าเรียน
การเรียนที่ดีคือการทำงานที่เเท้จริง
ไม่ใช่บ้าเรียนเอาทุกปริญญาแต่ไม่ทำงาน


การคิดเชิงระบบ
หนังสือ Outlier (แปลว่า: ผู้ที่แปลกแยก ไม่เหมือนคนอื่นๆ หรืออยู่นอกกรอบ)

ได้บอกได้ว่า จะเป็น outlier ได้ ต้องมี
1.ปัจจัย IQ ต้องถึง
2. โอกาส ตามระยะเวลา คนที่เกิดในเเต่ละปีไม่เหมือนกัน
3. Work Hard ในเเขนงของเรา 1 ชั่วโมงอย่างต่อเนื่อง (เพราะจะไม่มีใครรู้มากกว่าเรา) ต้องหาไฟกัส เราเรียนได้จากการทำงานแต่ต้องมีโค้ส ที่เเสดงบทบาทได้ดี ต้องหิ้วเอาน้องเลี้ยงไปด้วยทุกครั้ง การชักนำบางคนอาจต้องพูดเวอร์บ้าง

ในสถานการณ์ที่ต่างกัน ต้องใช้สิ่งที่ต่างกัน
อย่างทิ้งให้พี่เลี้ยงอยู่อย่างเดียวดาย
ต้องพยายามเกาะเเข้งเกาะขาตลอด




ในสถานการณ์ปัจจุบัน
การมีเปลี่ียนความต้องการ (DEMAND)

  1. โครงสร้างประชากรเปลี่ยนเป็นสังคมสูงอายุ

  2. การเปลี่ยนลักษณะทางระบาดจากโรคติดเชื้อเป็นโรคไม่ติดเชื้อ(NCD)

  3. การเปลี่ยนเเปลงด้านระบบการเมือง NGO ICT ภาคประชาสังคม(สำคัญมากในปัจจุบัน

  4. globalization and global movement of population เช่น คนกลุ่มน้อย-->คนไร้สัญชาติ

  5. public sector reform เช่น การบรรจุเข้ารับราชการคงไม่ได้ เพราะนโยบายต้องลดลงคน เเละบางครั้งพวกผู้ใหญ่ชอบคิดแทน จริงคนรุ่นใหม่อาจไม่ต้องการเป็นราชการก็ได้
    -การลดจำนวนข้าราชการ(downsizing public sector)
    -การทำperformance management system(pms)
    -autonomous public organization (องค์กรอิสระ)

  6. decentralization

  7. autonomous agencies under MOPH เช่น สสส การเเพทย์ฉุกเฉิน HA สวรส มีมากมาย

  8. การถ่ายโอนอำนาจในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งหมอ ทั้งครู ต้องไป เเต่ได้เปลี่ยนกฏหมายแล้ว ทำให้โรงพยาบาลเปลี่ยนเเต่สถานีอนามัยต้องโอน

  9. การปรับตัวขององค์กรอิสระภายใต้กระทรวง สธ ยกตัวอย่างเรื่องการทำงานด้านควบคุมสิทธิประโยชน์ สธ. ต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำ การเเเก้ปัญหาอาจไม่สามารถทำให้เป็นศูนย์ เเต่เราต้องอยู่กันมัน การออกเเบบระบบระหว่าง ส.ทั้งหลาย กับ กระทรวง ควรต้องทำโดย สธ ควรแสดงบทบาทผู้นำ

  10. effect of public contract model UC and SSS ทุกวันนี้เริ่มจะิอิงเรื่องนี้มากขึ้นการตัดงบไม่มีวัน เเต่อาจเพิ่มในอัตราช้าๆ กติกาไม่ชัดเจนทำให้ยุ่ง อาจต้องทำเรื่องการให้ผู้ป่วยจ่ายเงินร่วม การจัดซื้อยาหรือวัคซีนทำให้ราคาลดลงอย่างชัดเจน การบริหารจัดการโรคเฉพาะ ฟ้องเเพทย์ การทำให้บุคลากรมีหัวใจความเป็นมนุษย์

ความกำหนดความท้าทายใหม่ของกรมควบคุมโรค

  1. Redefine role amd functions of DCS at different level(central/province/local)
    o local decision and response with central support
    o system design at local level

  2. development of its governing structure to involve new/potential partners at all levels

  3. system capacity building based on KM approach and structure development

  4. the use of ICT and social network in system development

ตอนท้าย
ท่านรองฯสมศักดิ์พูดย้ำเรื่อง ความท้าทายของกรมควบคุมโรค
o การเตรียมตัวที่ดีของกรม เช่นเรื่องเตรียมคน WHA
o สิ่งที่กรมควบคุมโรคต้องทำ
o take intensively but not seriously
o ถ้าเราไม่เปลี่ยน เราจะถูกคนอื่นเปลี่ยน
o ตอนนี้ กรม จะทำให้ สคร เปลี่ยนเเปลง
o เปลี่ยนระบบไม่ง่ายต้องใช้เวลา เปลี่ยนตัวเราง่ายกว่า(ซึ่งก็โคตรยากเลย)
o ยกตัวอย่าง เรื่องการประชุมเสนอวิสัยทัศน์ กรม.คร
o การเปลี่ยนระบบสำัคัญ

หมอศุภมิตร กล่าวว่า
o ดีใจที่ได้มา
o บอกถึงการบรรยายที่ดีที่สุดเเห่งปี
o ขอบาลานท่านสมศักดิ์ที่ทำให้เครียด
o ให้ทำไปเรียนรู้ไป มีความสุขในการทำงาน


หมอพงษ์ตอบตอนท้าย:
  1. อะไรไม่ชัดให้กำหนดเองได้ ดีกว่าชัดที่ไม่สามารถกำหนดอะไรได้เลย

  2. การทำเรื่องใหญ่เเบบหมอประเวศ วะสี

  3. ระบบต้องอยู่ในฐานะความรู้

  4. หนึ่งนโยบายต้องมีการเขียนวารสารออกมาหนึ่งฉบับ เพื่อเป็นการสนับสนุน

  5. เป็นการเปรียบเทียบกับสิ่งที่อาจารย์ทำกับสิ่งที่น้องเลี้ยงทำ



ของทิ้งท้ายด้วย
การบรรยายของ Malcolm Gladwell
ผู้เเต่งหนังสือ "Outlier"
เรื่อง Why do some succeed where others fail? What makes high-achievers different?

http://www.youtube.com/watch?v=jh9ax4QvzoQ&feature=related

หวังว่าการสรุปของผมคงจะเกิดประโยชน์บ้างนะครับ

พัฒนาผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรค

การประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา


ของกรมควบคุมโรค วันที่ 4-5 มีนาคม 2553


ณ บ้านทิพย์สวนทอง อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม



หมอไพโจน์ เเห่ง สคร.8 อยู่ในโครงการนี้ด้วย

งานนี้ผมต้องเดินทางไกลด้วยรถยนต์คู่ใจ

ตั้งเเต่วันที่ 3 มีนา ตั้งเเต่เช้า เนื่องจากมีคิว

เเวะไหว้พระไปตลอดทาง

เริ่มที่วัดท่าการ้อง จังหวัดอยุธยา

เเล้วต่อด้วยวัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม

ซึ่งเป็นวัดของท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์
(ท่านประยุตต์ ปยุตโต) จำพรรษาอยู่
เเต่ช่วงนี้ท่านไม่อยู่เนื่องจากอาพาธ
บรรยากาศวัดร่มรื่น สงบดี
ผมได้หนังสือธรรมที่เขาเเจกฟรีหนึ่งเล่ม ชื่อ"ก้าวไปในบุญ"
กะว่าจะรีบอ่านให้เสร็จ ในคืนที่นอนพัก

เเละจะนำมาขึ้นบล็อกเร็วๆนี้

ผมไปถึงสมุทรสงครามตอนเย็น ผ่านตลาดน้ำอัมพวันด้วย
พึ่งทราบว่านอกจากวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์
ตลาดอัมพวาจะเงียบมาก

เเต่กะว่าขากลับวันศุกร์จะมาเเวะ ซื้อของฝากทางบ้านสักหน่อย

ตอนเช้า ผมตื่นนอนเเต่เช้าเเละออกไปเดินออกกำลังด้านนอกรีสอร์ท
บรรยากาศสงบมาก

ดูคนเเถวนั้นสบายๆ เห็นเเล้วอิจฉาจัง

พอกลับมาถึงรีสอร์ทก็พอดีกับทีมใหญ่จากกรมควบคุมโรค ที่พึ่งเดินทางมาถึงพอดี

พี่หมอโสภณเเอบเเซวว่า นึกว่าผมเป็นวัยรุ่นเเถวๆนี้
เพราะชุดวิ่งของผมดูวัยรุ่นมาก (ซึ่งก็เหมาะกันผมมากไม่ใช่หรือ)

เริ่มพีธีเปิดท่านรองฯศิริศักดิ์
ท่านได้กรุณาบรรยายเรื่องวิสัยทัศน์
พันธกิจของกรมควบคุมโรคที่ได้มีการจัดทำขึ้นมาใหม่

ภาพต่อไปเป็นบรรยากาศการอบรม.................

ทีมผู้จัดได้เเก่ หมอโสภณ หมอธีรภัทร์
หมอจรุงมาเป็น commentator
เเละพี่สรุพล จากกองการเจ้าหน้าที่

ท่านผู้ทรงฯสุจิตรา
กรุณาให้ความเห็นกับโครงการที่นำเสนอ


น้องเลี้ยงฝั่งตรงข้าม

อุ้ย ต้องบอกว่านั่งฝั่งตรงข้ามถึงจะถูก

เรายังรักกันดีอยู่ นะ

ท่านรองศิริศักดิ์ อาจารย์หมออัจฉรา
อาจารย์หมอมงคล กรุณาให้ความเห็นประกอบ

ก่อนจบการอบรมวันเเรก
อาจารย์หมอฉายศรี หมอมงคล หมอสมัย
บรรยายเรื่อง "น้องเลี้ยงในฝัน"
ต่อไปเป็นบรรยากาศเเละเนื้อหาในวันรุ่งขึ้น
หมอพงษ์พิสุทธิ์ บรรยายการคิดเชิงระบบ

ในวันนี้มีท่านรองฯสมศักดิ์มาเป็นประธาน
เเละให้ความเห็นต่างๆที่มีประโยชน์มากมาย

มีอาจารย์หมอศุภมิตรมาร่วมให้คำเเนะนำด้วย

อาจารย์หมอพงษ์พิสูทธิ์ได้บรรยาย
เรื่องที่มีประโยชน์มาก
โดยเฉพาะท่านพูดหนังสือเล่มหนึ่งชื่อ"Outlier"
เล่มนี้ผมซื้อไว้เเล้วเเต่ยังไม่ถึงคิวอ่าน
หมอโรจน์รับรองถ้าอ่านเสร็จเเล้วจะมาสรุปให้ฟังเเน่นอน
ในตอนต่อไป...
ผมขอนำเสนอสิ่งที่หมอพงษ์พิสุทธิ์
เล่าให้ฟัง เผื่อบรรดาหมอโรจน์ FC อยากทราบ
รอชมในตอนต่อไปนะครับ............................