วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วิธีการของโซคราติส (Socratic Method)

วันนี้วันหยุด สบายๆ ผมได้นั่งทบทวน หาหนังสือที่เคยอ่านมาแล้ว และหนังสือที่พึ่งได้มาใหม่มาพินิจพิเคราะห์
ว่าจะเขียนเรื่องอะไรดี ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่า เมื่อสัก 4-5 ปีที่แล้วมีโอกาสได้อ่านหนังสือชื่อ “ปรัชญากรีกบ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก” ของท่านพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตตฺโต) เมื่อครั้งที่ท่านดำรงสมณะศักดิ์พระราชวรมุนี

ท่านได้ทำให้ผมมีความเข้าใจในเรื่องปรัชญาขึ้นมาอย่างมาก
วันหลังผมจะมาสรุปให้ฟังเพราะต้องอรรถาธิบายกันเป็นยกๆเลยครับ
และบทหนึ่งท่านกล่าวถึง
“ท่านโซคราติส”

วันนี้ผมขอนำเสนอปรัชญาของท่านโซคราติส หรือ Socrates
หลายท่านที่เคยเรียนวิชาสังคมสมัยมัธยมก็คงเคยจะผ่านหูผ่านตามาบ้างแน่นอน
(ขนาดผมที่ไม่ค่อยขยันเรียน ยังเคยได้ยินเลย)

สิ่งที่ถูกกล่าวขานของท่านโซคราติส และที่ผมขอมานำเสนอคือ เทคนิคการสนทนาที่มีชื่อว่า
วิธีการของโซคราติส (Socratic Method)

วิธีการนี้เป็นศิลปะสนทนาที่ท่านใช้ประคับประคองกานสนทนาให้ดำเนินไปสู่คำตอบของปัญหาที่อภิปรายกัน วิธีนี้มีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า “วิภาษวิธี (Dialectic)” ซึ่งประกอบด้วยลักษณะสำคัญ 5 ประการ
สงสัย : ท่านจะเริ่มต้นการสนทนาด้วยการยกย่องคู่สนทนาว่า เป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องที่ท่านเองก็ใคร่รู้อยู่พอดี เนื่องจากท่านไม่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้น ท่านจึงขอให้เขาช่วยตอบคำถามของท่านเกี่ยวกับเรื่องนั้น การออกตัวทำนองนี้ถือว่าเป็นการถ่อมตัวของนักปรัชญาแต่ไม่มีผู้วิจารณ์ว่า นั่นเป็นการเสแสร้งของโซคราติส

สนทนา : จากนั้นท่านก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดียวกับปุจฉา วิสัชนา คู่สนทนาจะต้องหาคำจำกัดความของหัวข้อสนทนากัน ท่านจะวิจารณ์ว่าคำจำกัดความนั้นมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง อีกฝ่ายหนึ่งจะเสนอคำจำกัดความใหม่ที่ดูรัดกลุ่มกว่า ท่านก็จะขัดเกลาคำจำกัดความนั้นอีก การสนทนาจะดำเนินไปอย่างนี้ จนกว่าทั้งสองฝ่ายจะได้คำจำกัดความที่น่าพอใจ

หาคำจำกัดความ : จุดมุ่งหมายของกานสนทนาจึงอยู่ที่การหาคำจำกัดความที่ถูกต้อง โดยท่านเชื่อว่า ถ้าเราได้พบคำจำกัดความที่ถูกต้องของสิ่งใด นั่งแสดงว่าเราพบความจริงแท้เกี่ยวกับสิ่งนั้น ซึ่งเป็นอันเดียวกับการค้นพบมโนภาพของสิ่งนั้นเอง

อุปนัย: การสร้างคำจำกัดความจะเริ่มจากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล เช่นเมื่อหาคำจำกัดความของความดี ท่านและคู่สนทนาจะพิจารณาตัวอย่างจากความประพฤติดีชนิดต่างในสังคม แล้วดึงเอาลักษณะที่เป็น ”แก่น” หรือเป็นสากลเอามาสร้างเป็นคำนิยาม

นิรนัย: คำจำกัดความที่มีผู้เสนอมาจะถูกพิสูจน์โดยการนำไปเป็นมาตรการวัดสิ่งเฉพาะต่างๆ ว่ามีลักษณะร่วมกับลักษณะที่ระบุไว้ในคำจำกัดความนั้นหรือไม่ เช่นจำกัดความของ “ความดี” ขึ้นมา เราก็ตรวจสอบดูว่า การทำทานหรอการปราบปรามโจรผู้ร้าย จัดเป็นความดีตามคำจำกัดความที่เราตั้งไว้หรือไม่เพียงใดก็เป็นฝ่ายตั้งปัญหาให้คู่สนทนาตอบ การสนทนาจึงมีลักษณะเช่นเดี

รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร ผู้ซึ่งถูกกล่าวขานว่าเป็น โซคราติสคนสุดท้าย จากปากของนิสิตจุฬา
ได้กรุณาอธิบายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ “นักคิดของนักคิด” ว่า…………….

Socratic Dialogue เป็นวิธีการแสวงหาความรู้ด้วนการตั้งคำถามให้ถึงที่สุด เพื่อหาคำตอบสุดท้ายเป็นนิยามของสิ่งที่เรากำลังหาอยู่ ซึ่งมักเป็นประโยคทั่วไปหรือสากล และหลังจากนั้นเราต้องตรวจสอบซ้ำอีกว่า ประโยคนี้มีความขัดแย้งในตัวเองหรือเปล่า โดยนำเอานิยามมาปรับใช้กับกรณีเฉพาะ
ยกตัวอย่างประโยคทั่วไปว่า ถ้า
ความยุติธรรมคือการพูดความจริงและให้คืนสิ่งในสิ่งที่คนหนึ่งควรจะได้

หลังจากนั้น เราจะนำมาตรวจสอบซ้ำว่าในทุกๆ สถานการณ์เราสามารถพูดความจริงและให้คืนในสิ่งที่คนหนึ่งควรจะได้ เราทำได้โดยไม่เกิดปัญหาหรือข้อขัดแย้งเลยหรือ

เช่น สมมุติว่า เรายืมมีดจากเพื่อนบ้านมา วันหนึ่งเพื่อนบ้านเกิดเสียสติ และมาทวงมีดคืน เรารู้ว่าเขาอาจเอามีดไปทำร้ายใครรวมทั้งตัวเขาเองก็ได้ เพราะเขาเสียสติ ถ้าเรายึดตามหลักว่ายุติธรรมคือการพูดความจริงและในสิ่งที่ควรจะได้ เราก็ต้องคืนมีดเขาไป ทั้งที่รู้ว่าจะทำให้เขาอาจไปก่อให้เกิดความเสียหาย ตกลงแล้วการนิยายความยุติธรรมนี้ยังมีปัญหาใช่หรือไม่

บทสนทนา ก็มีลักษณะเช่นนี้คือมีการถาม และตอบไปเรื่อยๆ โดยดึงเอานิยามซึ่งลอยอยู่บยฟ้า นำลงมาสู่พื้นดิน คือนำลองมาเป็นกรณีเฉพาะว่านิยามนั้นยังใช้ได้อยู่หรือไม่ ถ้าใช้ไม่ได้ก็ต้องปรับปรุงเพิ่มเติม เมื่อปรับปรุงเพิ่มเติมเสร็จแล้ว ก็จะกลับขึ้นไปเป็นนิยายอีกครั้ง แล้วก็นำลงมาทบสอบซ้ำอีกครั้ง

ดำเนินกระบวนการเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนกระทั้งแย้งไม่ได้อีกแล้วและปรับใช้กับทุกกรณี ถือว่าเป็นประโยคสากลหรือคำตอบสุดท้าย

อย่างไรก็ตาม ในบทสนทนาส่วนใหญ่ ลงเอยด้วยการหาคำตอบสุดท้ายไม่ได้ และเหมือนกลับมาสู่จุดเริ่มต้นอีกครั้ง แต่การไม่ได้คำตอบสุดท้ายนั้น ไม่ได้หมายวามว่าการสนทนาที่ผ่านมานั้นจะสูญเปล่า เพราะตัวผู้สนทนาจะมีความรู้มากกว่าในตอนแรก นั้นคื่อรู้ว่าอะไรที่ไม่ใช่ ถึงแม้ว่าจะรู้ว่าความจริงคืออะไร

นอกจากนี้ ก็ไม่ได้หมายความว่าคำตอบมากมายที่พบในระหว่างการสนทนาก่อนหน้านี้ จะผิดไปเสียหมด หรือต้องตัดทิ้งไปหมด คำตอบเหล่านั้นกลายเป้นองค์ประกอบที่นำมาประกอบเข้าด้วยกัน แล้วกลายเป็นคำตอบทั้งหมด

การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีนี้ต้องใช้การสังเกต นำประสบการณ์และเหตุผลมาใช้ประกอบ คู่สนทนาต้องมีความรู้และมีระดับวุฒิภาวะสูงในระดับหนึ่ง จึงจะนำมาแสวงหาความรู้ในลักษณะนี้ได้ หากเป็นคนที่มีประสบการณ์ไม่กว้างขวางมาเถียงกัน มักจะเกิดลักษณะวนไปวนมา และจะเป็นเพียงการเล่นคำ ซึ่งบางส่วนในการ ถาม-ตอบ ของโสคราติสกับเพลโตเอง ก็มีลักาณะแบบนี้เช่นกัน คือ วนซ้ำไปซ้ำมา เพราะมันยากที่เราจะตั้งคำถามเชิงปรัชญาเรื่อยๆๆ


อ้างอิง:
หนังสือ “ปรัชญากรีกบ่อเกิดภูมิปัญญาตะวันตก” เขียนโดยพระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺจิตตฺโต)
หนังสือ “นักคิดของนักคิด” ของ GMBOOK เฉพาะบทแรกที่เขียนโดย รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร


ประสบการณ์ตรงของผู้โพสต์:
ในชีวิตของผมที่อยู่ในโลกใบนี้มา ผมเคยเจอไม่กี่คนที่ใช้วิธีการนี้ แต่ที่ผมเจอได้บ่อยมากคือ คนที่อ้างว่าตัวเองใช้วิธีการนี้ แต่หารู้ไม่ว่า ที่เขาใช้อยู่ ภาษาไทยเขาเรียกว่า “พายเรือวนอ่าง”

1 ความคิดเห็น:

  1. บทความยอดเยี่ยม เป็นวิธีที่ผมพยายามอยากให้นักเรียนแพทย์ฝึกคิดแบบนี้อยู่พอดี จะขอยืมไปใช้ ฝาก blog ผม www.tobenewdoctorDD.blogspot.com

    ตอบลบ