วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การพัฒนาผู้เชี่ยวชาญกรมควบคุมโรค

ประชุมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค
วันที่ 24 ธันวาคม 2552 ณ สถาบันบำราศนราดูร

วันนี้ผมขออนุญาตเล่าให้ฟังในฐานะเป็นผู้เข้าร่วมประชุมพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ของกรมควบคุมโรค

เเละผมเองก็เป็นหนึ่งในน้องเลี้ยงในสาขาวัณโรค
พี่เลี้ยงของผมคือ อาจารย์หมอยุทธิชัย ผอ.สำนักวัณโรค

เเต่ครั้นจะเล่าให้ฟังทั้งหมดโดยไม่ปรับเเก้คำบางคำหรือประโยค
ก็เกรงจะเป็นการเปิดเผยความลับทางราชการ

เเละครั้นจะระบุเลยว่าใครเป็นคนพูดหรือให้ความเห็นก็เกรงจะเป็นการไม่เหมาะสม
เเต่ผมรู้สึกประทับใจเป็นพิเศษกับอาจารย์หมอศุภมิตร หมอคำนวน หมออัจฉราเเละหมอโสภณ
ที่ได้ให้ความเห็นที่มีประโยชน์มาก




เข้าเรื่อง....

โดยภาระกิจของกรม คร คือเป็นผู้นำในทางวิชาการด้านการควบคุมป้องกันโรค
เปรียบเหมือนกับทีมชาติของประเทศเเละกระทรวงกำหนดให้กรม คร จัดการ
ยกตัวอย่างเช่น โรคซาร์ที่หากมองย้อนกลับไป กรมเราเป็นเจ้าภาพจัดการได้ดีมาก โดยเฉพาะสถาบันบำราศนราดูร

ปัญหาอย่างหนึ่งคือการพัฒนาคนให้มีความสามารถ
ยกตัวอย่างในอดีต กรมหาคนที่จะไปร่วมประชุมสมัชชาองค์การอนามัยโลก(World Helth Assembly: WHA) ยากเต็มที
เเต่ก็พอถูๆไถๆ ไปได้ทุกปี โดยยังไม่มีระบบเป็นเรื่องเป็นราว
ปีนี้เป็นปีเเรกที่กรมเราได้จัดการอย่าเป็นระบบ
โดยมีการทดสอบภาษาอังกฤษ การให้การบ้านไปลองทำ เเล้วให้กรรมการตัดสิน

ขออุ๊บผลไว้ก่อน รอการประกาศผลอย่างเป็นทางการเร็วๆนี้
เเต่รู้สึกว่าคนที่ได้ไป WHA จะเหนือความคาดหมายไปสักเล็กน้อย
เก่งหรือเปล่าไม่ทราบ
รู้เเต่ว่าเป็นหมอหนุ่มเเละหล่อทุกคน (ฮิๆ)

เข้าเรื่องต่อ...

การพัฒนาคนมีหลายวิธี เเต่พอสรุปได้หลักๆ 2 เเบบคือ


  1. Pre-service training : หมายถึง เรียนเป็นเรื่องเป็นราวก่อนที่จะมาทำงานเช่น จบตามหลักสูตรต่างๆ

  2. On the job training: เรียนรู้จากการทำงาน หรือระหว่างทำงาน
กรมจึงมีนโยบายพัฒนาคนโดยทำเป็นโครงการTalent Management
(ภาษาไทยเรียกว่าอะไร ไม่ทราบ)

ช่วงเเรกของการดำเนินโครงการ ก็ไปได้สวย มันไปได้กับงานปกติ
ตอบสนองความต้องการของทุกฝ่าย ทั้งหัวหน้าเเละลูกน้อง
ได้ทั้งงาน ได้ทั้งคน
เเละเข้ากับหลักของเศรษฐกิจพอเพียง

จนพัฒนาเเละมุ่งกลุ่มเฉพาะเป็นโครงการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้ารระบาดวิทยา
โดยตั้งเป้าเป็นจำนวนแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข สุดเเล้วจะตั้งตัวเลข
ซึ่งสามารถมองได้ 2 เเง่ คือ
ข้อดี : มีความชัดเจน เเน่นอน รู้เลยว่าจะทำอะไร กับใคร ที่ไหน ใช้เงินจากใคร
ข้อเสีย: คนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในโครงการ อาจคิดว่าตัวเองไม่ได้เป็นคนกลุ่มนี้
ทั้งที่โดยหลักการน่าจะสามารถประยุกต์ได้กับทุกคน

ความท้าทายคือ ทำอย่างไรให้มีการทำ Talent Management ในทุกกลุ่มทุกระดับ
เเละมีการการถ่ายทอดกระบวนการต่อไป

สิ่งที่กำลังทำอยู่ คือมีทีมพี่เลี้ยง น้องเลี้ยง
เเต่ที่สำคัญไม่น้อยกว่ากันคือ น้ำเลี้ยง ซึ่งต้องบริหารจัดการให้ดี
น้ำเลี้ยงในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเป็นเงินเท่านั้น
เเต่รวมไปถึงผู้จัดการโครงการ การบริหารจัดารด้วย
งานนี้ต้องกราบขอบพระคุณอาจารย์หมออัจฉรา ด้วยที่ทำงานได้เป็นอย่างดี

คนที่เข้าโครงการนี้ต้องมีการประเมินผลงานเป็นระยะๆ

สำหรับการพัฒนาผู้เชี่ยวชาญสายวัณโรคนั้น
ผมได้เสนอทั้งหมด 4 โครงการคือ

1.Situation of MDR-TB in Thailand : Fiscal year 2007-2009
2.Development of MDR-TB Control Policy in Thailand
3.Mathematical modeling of MDR-TB Epidemiology
4.Interferon-Gamma Release Assays for Tuberculosis Screening in Thailand


เเต่ในช่วงเเรกจะทำ 2 โครงการเเรกก่อน ซึ่งสามาถทำคู่ขนาดกันไปได้เป็นเรื่องเดียวกัน
โครงการที่เหลือ กำลังทบทวนองค์ความรู้เเละเขียนโครงร่างต่อไป

ประเด็นที่พี่เลี้ยงให้ความเห็นว่าควรดำเนินการเพิ่ม คือ


  • การติดตามพี่เลี้ยงเข้าสังเกตการณ์การประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านวัณโรคขององค์การอนามัยโลก

  • เข้าร่วมการประชุมผู้เชี่ยวชาญในประเทศไทย

  • ประเด็นเรื่องเงินๆทองๆ ก็ต้องหาทางบริหารจัดการกันต่อไป

ผมพึ่งทราบว่ากลยุทธ์การประชุมในเวทีระหว่างประเทศ
มันมีเทคนิกมากมาย ต้องศึกษากันต่อไป

หลายๆอย่าง ถึงเเม้จะเป็นเเพทย์พ่วงดีกรีด็อกเตอร์ ก็ไม่ได้ช่วยอะไร
ต้องมาเริ่มนับหนึ่งใหม่กับเขาเหมือนกัน

เเต่เหนือสิ่งอื่นใด
การเรียนรู้เเละพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่างหากเป็นเรื่องสำคัญเป็นที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น