วันอาทิตย์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ว่าด้วยเรื่องเเบ่งยุคเเบ่งGenerationของคน

เมื่อสัปดาห์ที่เเล้ว ผมได้ไปร่วมประชุมเพื่อพัฒนาหลักสูตร
เกี่ยวกับวัณโรคดื้อยาหลายขนาน
กลุ่มเป้าหมายคือ เเพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ผู้ทำงานด้านวัณโรค

ระหว่างการประชุมมีการพูดถึงปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการทำหลักสูตร
คือเรื่อง ลักษณะของคน หรือ Generation
อาจารย์ท่านหนึ่งได้อธิบายว่าให้ผมฟังเป็นฉากๆ
ต้องยอมรับว่าผมเก็บรายละเอียดมาได้ทั้งหมด
เเต่สรุปว่า ผมเป็นรุ่น Generation X
ที่ไม่สนใจกระบวนการ เเต่ไว
อยากได้ผลงานอะไรขอให้บอก เดี๋ยวคนรุ่นนี้จัดให้
เเต่อย่ามาเคร่งครัดเรื่องกระบวนการ
มีจุดมุ่งหมายเป็นตัวของตัวเอง
หากที่ใดไม่สามารถตอบสนองได้ ก็เปลี่ยน
อาจเริ่มจากย้ายที่ทำงานใหม่ หรือไปทำงานในต่างประเทศ

การเรียนรู้จะไม่จำกัดที่หนังสือ หรือกระดาษ
ไม่ชอบอะไรที่เยินเย้อ
ทุกอย่างต้องกระชับ ได้ใจความ รวดเร็ว

ซึ่งจะตรงข้ามกับพวก Baby Bloomer
พวกที่อายุ 50 กว่าๆ ที่ยังชอบกระดาษ
ชอบความมั่นคง ไม่ค่อยเปลี่ยน etc

วันนี้ผมเลยไปลองค้นรวบรวมความรู้เรื่องนี้มาเผยเเพร่

เชิญทัศนาเพื่อเพิ่มรอยหยักในสมอง

ปัญหาการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การ
อีกเรื่องหนีไม่พ้นเรื่องของช่องว่างระหว่างวัย
ช่องว่างระหว่างความคิด
อันเนื่องมาจากบทเรียนประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน
ตามอิทธิพลของสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม
การเมือง ประเพณี วัฒนธรรม เทคโนโลยีการสื่อสารของผู้คนแต่ละยุคสมัย
มีการแบ่งกลุ่มผู้คนวัยทำงาน ไว้เป็น

- พวก Traditional พวกที่เกิดก่อน ค.ส. 1945
- พวก Baby Boom ผู้คนที่เกิดในช่วง ค.ศ. 1946-1964
- พวก Generation X ผู้คนที่เกิในช่วง ค.ศ. 1965-1980
- พวก Millennial ผู้คนที่เกิดหลัง ค.ศ.1981

Traditionalists
เป้าหมายอาชีพการงานของ Traditionalist คือ
การได้ลงหลัก ปักฐาน ไว้ที่ใดที่หนึ่ง
คุณค่าความสำเร็จและความภูมใจของ Traditionalist
คือการได้สร้าง ตำนาน กับการที่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดอาชีพการงาน
ไว้ที่หน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง เพียงหน่วยงานเดียว
ในความคิดของการเปลี่ยนงาน คือ ความพ่ายแพ้
พฤติกรรมการทำงานในลักษณะแนวดิ่ง
ถ้าไม่คิดทำงาน เจริญเติบโตก้าวหน้าในอาชีพการงานอยู่
กับหน่วยงานเดียวดังกล่า
อย่างน้อยที่สุด ก็จะเป็นในลักษณะของการสร้างชื่อเสียง
จากความชำนาญ เชี่ยวชาญ เฉพาะด้าน

Baby Boomers
เป้าหมายอาชีพการงานของ baby boomers
คือการไขว่ฟ้า คว้าดาว เรียนรู้การทำงานแบบ
รู้ลึก แม้แนวคิดทางความสำเร็จในอาชีพของ baby boomers
จะไม่ต่างจากบทกลอน อันความรู้ รู้กระจ่างแต่อย่างเดียว
แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล
แต่แทนที่จะฝากชีวิตของตนเองไว้ให้หน่ายงาน
เป็นผู้กำหนดชะตากรรม
เช่นเดียวกับพวก Traditionalist
กลุ่ม baby boomers กลับทบทวนตั้งคำถาม
และมีคำตอบเกี่ยวกับเป้าหมายชีวิตและ
การทำงานของตนเองอยู่ตลอดเวลาว่าตนเองกำลังทำอะไร จ
ะไปไหน เพื่อก้าวไปสู่จุดหมายความสำเร็จแห่งชีวิต
ด้วยการอยู่ในจุดสูงสุดของอาชีพตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงานในมุมมองของการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์การเพื่อการสร้างกำลังคนคุณภาพ
กลุ่ม generation x และ millennial ที่ถือเป็นคนรุ่นหลังที่กำลังถูกจับตาให้ความสำคัญมาก

Generation Xers
Generation X ใช้เรียกกลุ่มคนมีพฤติกรรมแบบพึงตนเอง
ไม่พึ่งพาใครทำงานแบบเบ็ดเสร็จด้วยตนเอง
แบบเถ้าแก่ ชอบอิสระ ชอบอะไรแบบง่าย ๆ
ไม่ต้องเป็นทางการ ชอบพูดคุยสนทนาแบบเป็นผู้ใหญ่
ไขว่คว้าหาความมั่นคงทางอารมณ์ ความรู้สึก
รู้รอบ ใฝ่ศึกษาหาความรู้ สั่งสมบทเรียนประสบการณ์ใสตน
มีความคิดเปิดกว้าง พร้อมรับฟังข้อติติง
เพื่อการปรับปรุงพัฒนาตนเอง
มองสมดุลแห่งความสำเร็จของชีวิต
งาน เงิน ครอบครัวและตนเอง อยู่ที่ปัจจุบัน
พวกเขาต้องการมี เวลา มีความพร้อมที่จะได้ดูแลฟูมฟักลูกหลาน
เดี๋ยวนี้ ไม่ใช่เมื่อภายหลังเกษียณการทำงานไปแล้วเป้าหมายอาชีพการงานของกลุ่ม generation Xers คือการเป็นเถ้าแก่
แบบ รู้รอบในขณะที่กลุ่ม Traditionalist และ Baby Boomers
เห็นความสำเร็จและความสุขที่บั้นปลายชีวิต
ภายหลังเกษียณ กลุ่ม Generation Xers กลับมองสมดุลแห่งชีวิต
และการทำงานอยู่ที่ปัจจุบันด้วยแนวความคิดที่ว่า
ความมั่นคงในอาชีพไม่ได้หมายความว่า
ต้องมั่นคง ปักหลักอยู่กับหน่วยงานใด
แต่เพียงหน่วยงานเดียว
แต่ต้องมุ่งพัฒนาสมรรถนะของ ตนเอง ให้ก้าวทันโลก
ให้ชีดความสามารถในการแข่งขัน

Generation Xers คือกลุ่มที่มีแนวคิดและการทำงานในลักษณะ
เถ้าแก่ คือรู้ทุกอย่างทำทุกอย่างได้เพียงลำพังไม่ต้องพึ่งพิงกับใคร
ความรู้ที่อยู่ติดตัว จะติดตลอดไปหากต้องเปลี่ยนหน่วยงาน
ก็สามารถเปลี่ยนได้อย่างไม่ลังเลและเริ่มต้นในงานใหม่ได้อย่างไม่ลังเล

Millennial
Millennial เรียกกลุ่มคนยุค บริโภคด่วน ที่เพิ่งเริ่มเข้าวัยทำงาน
ในยุคของความก้าวหน้าทางด้านโลกเทคโนโลยีการสื่อสาร
การเปิดกว้างของข้อมูลข่าวสาร
พวกเขาชอบทำงานในลักษณะเป็น เครือข่าย
พวกเขาชอบพบปะผู้คน ที่มากหน้าหลายตา
ชอบการทำงานเป็นหมุ่คณะ
แม้จะเป็นหมุ่คณะที่มีความแตกต่าง
หลากหลาย ด้วยความคิดเชิงบวก
ความเชื่อมั่นในตัวเอง พวกเขาคิดว่า
ให้ทำอะไร ทำได้ทั้งนั้น ขอให้มีผู้นำที่ดี
มีคนช่วยแนะ ช่วยสอน
ช่วยวิจารณ์การทำงานในทางที่ดี
รวมถึงระบบการทำงานที่เป็นระบบ
เพื่อช่วยพัฒนาการทำงานของพวกเขา
พวกเขาชอบที่จะได้รับมอบงานหลาย ๆ อย่างในหลายลักษณะ
โดยคิดว่าจะสามารถทำได้สำเร็จในทุกชิ้นที่ได้รับมอบหมาย
ในขณะที่กลุ่มคนทำงาน Millennial
รู้สึกดีที่จะได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้ใหญ่
ที่ดีในลักษณะของการ พึ่งพิง
(ที่แตกต่างในทางตรงข้ามกับความต้องการการเป็นอิสระของกลุ่ม Generation X)
พวกเขาก็ปรารถนาที่จะให้ผู้ใหญ่ที่เขาถือเป็นผู้นำ
พร้อมรับฟังปัญหาและเคารพในความคิดเห็นของพวกเขาด้วยเช่นกัน
Millennial ต้องการความชัดเจนในการทำงาน
ว่าสิ่งที่ทำมีผลต่อตนเอง ต่อหน่วยงานอย่างไร
และพวกเขาต้องทำอะไรบ้าง
และเมื่องานสำเร็จ พวกเขาก็พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งท้าทายในระดับต่อไป
ที่แน่นอนต้องเป็นสิ่งท้าทายในระดับที่สูงกว่างานเดิม
การที่โลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร
แบบเครือข่ายกลายเป็นชีวิตประจำวันอันแสนธรรมดา
ของพวกเขารูปแบบวิธีคิด
วิธีการทำงานของคนรุ่นใหม่นี้
จึงสะท้อนลักษณะของการติดต่อสัมพันธ์
สร้างเครือข่ายการทำงานที่ชัดเจนที่สุด
เทียบกับกลุ่มคนในรุ่นต่าง ๆ
ที่ผ่านมาเป้าหมายทางอาชีพการงานของกลุ่ม millennial
คือ การประสบความสำเร็จในการทำงาน ในธุรกิจที่
หลากหลาย ภายใต้การสร้างและพัฒนา
เครือข่ายการทำงาน ที่มากหน้าหลายตายุค
BABY BOOM คือยุคของคนอายุประมาณ 50 ปี
พวกนี้มีแนวความคิด ที่จะทำงานหนัก
เพื่อสร้างเนื้อสร้างตัวเกิดและเติบโตหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
หรือเรียกว่า ยุค Baby Boom คนกลุ่มเหล่านี้มีประสบการณ์
มีความสามารถเป็นกลุ่มที่ทรงพลังที่สุดช่วงหนึ่ง
ในประวัติศาสตร์สังคมธุรกิจยุคปัจจุบัน
ที่สำคัญพวกเขาเชื่อมั่นตนเองว่า
รุ่นที่สอง ไม่มีความสามารถเพียงพอจะรับช่วงได้ดีจากกลุ่มตน
ในขณะที่รุ่นที่สองไม่มีประสบการณ์
หรือไม่รับโอกาส แต่กลับเชื่อมั่นตนเองอย่างมาก
ด้วยการมองความสำเร็จไว้ยิ่งใหญ่กว่ารุ่นก่อนด้วยยุคต่อมา
คือ Generation X ยุคเงินมีอำนาจ
แต่ไม่ต้องสนใจว่าจะไปหามาอย่างไร
จากไหน หามาได้แล้ว ก็จะใช้เงินอย่างฟุ่มเฟือย
บ้ายี่ห้อ Think Big, Talk Big
แล้วก็มาถึง Generation Y
พวกนี้จะทำในสิ่งตรงกันข้าม
ฉันไม่สนใจอะไรทั้งนั้น เป็นยุคลัทธิ ตัวตู ร่างกายตู สมบัติตู ไม่ใช่ของตู
มีข้าวกินไปวันๆ ร้องรำทำเพลงเป็นพอขณะนี้เราอยู่ในยุคของ Generation C (Generation X of content )
คนยุคนี้คุยกันแบบเนื้อหาล้วนๆ จะไร้สาระ
หรือมีประโยชน์ ก็ไม่ว่ากัน แต่เราจะคุยกันแบบไม่เห็นหน้า
ใครเป็นใครก็ช่าง ไม่แคร์ ไม่ใช้ชื่อจริง
ไม่ต้องมีความสัมพันธ์ใดๆต่อกัน ชอบก็อยู่ต่อ
ไม่ชอบก็ไป ถูกผิดไม่รู้ ตูขอให้ได้โชว์กึ๋น


สลายช่องว่างสร้างความเข้าใจเมื่อเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วว่า
ใครมีค่านิยมในชีวิตอย่างไร
ใคร ๆ ก็สามารถสร้างสะพานข้ามช่องว่าง
เพื่อข้ามไปหากันได้
สูตรสร้างสะพานข้ามช่องว่างระหว่างวัยมีอยู่ 3 ขั้นตอน

1. เข้าใจถึงความแตกต่าง
ยอมรับว่าคนเราถูกหล่อหลอมมาไม่เหมือนกัน
คนที่มีความเชื่อ หรือทัศนคติต่อชีวิตไม่เหมือนคุณ เขาไม่ใช่คนไม่ดีเสมอไป

2. ชื่นชมจุดดี แทนที่จะต่อต้าน
ให้เราลองมองหาจุดเด่นของคนในแต่ละกลุ่มให้พบ

3. บริหารความแตกต่าง เปลี่ยนวิธีการสื่อสารให้เข้าถึง
คนแต่ละกลุ่มที่เราต้องทำงานด้วย

ทำงานกับกลุ่มลายคราม

จงให้เกียรติและให้ความเคารพอย่างสูงต่อพวกเขา เมื่อคุณให้เกียรติผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ก็จะให้เกียรติคุณ แล้วถ้าบังเอิญคุณมีตำแหน่งสูงกว่าพวกเขา จงแสดงความชื่นชมต่อเขาในด้านการเป็นเสาหลักขององค์กร และจงรับฟังเมื่อพวกเขาถ่ายทอดประสบการณ์ในอดีต การต่อสู้ ความพากเพียรในการทำงานจนผ่านพ้นความยากลำบากมาได้ เพราะสิ่งนั้นคือ สิ่งที่คนรุ่นหลังไม่มี และไม่รู้จัก อย่ามองว่า..กลุ่มลายครามคือ หมาล่าเนื้อไม่มีที่ไป แต่การที่พวกเขาทำงานอยู่จนถึงวัยเกษียณนั้น เป็นเพราะพวกเขา เชื่อในคุณค่าของความมั่นคง และถือความซื่อสัตย์เป็นที่สุด

ทำงานกับกลุ่ม Baby Boom
จงแสดงความนับถือ รับฟัง และเรียนรู้จากประสบการณ์ของ Baby Boom แล้วพยายามปรับใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ว่าคุณจะเก่งกาจแค่ไหน หรือคุณจะประสบความสำเร็จเพียงใด คุณก็ยังต้องเรียนรู้อยู่เสมอ อย่าแสดงออกว่าการทำงานหนัก คือ การถูกเอาเปรียบ เพราะ Baby Boom ให้ความสำคัญต่อหลักการทำงาน ยึดถือวัฒนธรรมองค์กร และเห็นคุณค่าต่อการทำงานอย่างทุ่มเท หากต้องทำงานในองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ซึ่งบริหารงานโดย Baby Boom ควรพยายามเรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรเสียก่อนว่ามีการเจริญเติบโตมาอย่างไร ก่อนที่จะเสนอความคิดริเริ่มเพื่อการเปลี่ยนแปลงใด ๆ แก่ Baby Boom

ทำงานกับกลุ่ม Generation–X
ต้องพูดให้กระชับ ชัดเจนและไม่อ้อมค้อม เพราะ
Generation–X ชอบความตรงไปตรงมา
คุณสามารถใช้ Email กลับคนกลุ่มนี้ได้
หากคุณสามารถสื่อสารได้ใจความและตรงเป้าหมาย
หากเป็นเรื่องใหญ่จริง ๆ ควรพูดต่อหน้า
เพราะ Generation–X ไม่ชอบถูกบงการ
ผู้ใหญ่แค่ให้นโยบายกว้าง ๆ
เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ปัญหาเองจะดีที่สุด
ส่วน Baby Boom ควรลดความคาดหวังต่อ Generation–X
ในการทำงานหนักอย่างหนักโดยไม่มีวันหยุด
หรือก้าวไปอย่างช้า ๆ อย่างรุ่นตน
เพราะ Generation–X ต้องการชีวิตที่สมดุล ไม่ชอบการอยู่ติดที่

ทำงานกับกลุ่ม Millennium
ลองท้าทายพวกเขาด้วยภารกิจใหม่ ๆ
Millennium จะชอบความเป็นคนสำคัญ
การเพิ่มความรับผิดชอบ เสมือนการให้คำชม
จงเปิดโอกาสให้ Millennium ได้แสดงความคิดเห็นของเขา
เห็นพวกเขาเป็นส่วนหนึ่งในทีม
ผู้ใหญ่ที่ยอมรับความคิดเขา
ก็จะได้รับการยอมรับจากพวกเขาเช่นกัน
Millennium ชอบให้คุณแสดงออกต่อสิ่งที่พวกเขาทำทุกขณะจิต
เพราะความรู้สึกและความคิดเห็นของเพื่อนร่วมงาน มีผลต่อพวกเขามาก

หวังเหลือเกินว่าคงจะเกิดประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อย

ใครอยากรู้ว่า หมอโรจน์เป็นคนอย่างไร
หรือควรจะต้องเข้าหาเเละให้กำลังใจเเบบไหน
ให้ลองดูในกลุ่ม Generation–X

อย่าเผลอไปอ่านในกลุ่ม Baby boomers นะครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. การที่เราเข้าใจถึงความแตกต่างของคนแต่ละคน ย่อมทำให้เกิดการ Compromiseขึ้น และงานที่ทำก็จะเดินไปได้อย่างสำเร็จ

    ตอบลบ
  2. มาอบรมระบาด เมื่อวันจันทร์ อาจารย์บอกว่าผมเป็นรุ่น Aids generation ครับ ^_^' (เกิดมาพร้อมกับ aids)

    ขอบคุณสำหรับบทความดีๆครับพี่

    หมอพิสุทธิ์

    ตอบลบ